Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

วิเคราะห์ราคาทองคำ 4 มิ.ย.64(YLG)

- Advertisement -

421

- Advertisement -

คำแนะนำ :

ราคาอยู่ในช่วงการพักฐาน โดยเน้นการซื้อขายทำกำไรระยะสั้น หากราคาไม่สามารถยืนเหนือโซนแนวต้านบริเวณ 1,875-1,884 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ทำให้ราคายังคงมีโอกาสขยับลงต่อเพื่อทดสอบแนวรับบริเวณ 1,859-1,845 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,859 1,845 1,829  แนวต้าน : 1,884 1,898 1,917

สรุป  

ราคาทองคำวานนี้ปิดดิ่งลง 36.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์หรือเกือบ -2%  โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันอย่างหนักหลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด เริ่มตั้งแต่ ADP เผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐพุ่งขึ้น 978,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 680,000 ตำแหน่ง และเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2020  ต่อมาตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกก็ลดลงเกินคาดสู่ระดับ 385,000 รายในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 29 พ.ค. โดยเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค.2020  หลังจากนั้น  ISM ก็เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 64 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน  ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนความแข็งแกร่งของภาคการบริการและตลาดแรงงาน  จนกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจเริ่มชะลอการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  ด้วยการลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัยพ์ตามมาตรการQE (QE Tapering)ในไม่ช้านี้  ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น 0.65% แตะที่ 90.491 และหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.626% ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงกว่า 40 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับสูงสุดในระหว่างวันบริเวณ  1,909.53 ดอลลาร์ต่อออนซ์แตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,865.41 ดอลลาร์ต่อออนซ์  พร้อมปรับตัวลงต่อในช่วงเช้าวันนี้ในตลาดเอเชีย  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยการจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงาน  และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง  ซึ่งหากตัวเลขออกมาดีกว่าคาดหรือแย่กว่าคาดจะสร้างความผันผวนให้ราคาทองคำในคืนนี้ได้

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 23.34 จุด เหตุวิตกเงินเฟ้อฉุดหุ้นเทคโนฯร่วง  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) ซึ่งเป็นการปิดในแดนลบวันแรกในรอบ 6 วันทำการ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อได้กดดันให้นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่ตลาดจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยในวันนี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,577.04 จุด ลดลง 23.34 จุด หรือ -0.07% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,192.85 จุด ลดลง 15.27 จุด หรือ -0.36% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,614.51 จุด ลดลง 141.82 จุด หรือ -1.03%
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐพุ่งเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค.  สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 64 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์  ดัชนีภาคบริการเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 62.7 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 63  ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ
  • (-) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐพุ่งเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 70.4 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2552
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลงต่ำกว่า 4 แสนรายในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ 385,000 รายในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 29 พ.ค. โดยเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 390,000 ราย  ทั้งนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงต่ำกว่าระดับ 400,000 รายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่โรคโควิด-19 เริ่มระบาดเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานแข็งแกร่งขึ้น
  • (-) ADP เผยจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐพุ่ง 978,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค.  ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐพุ่งขึ้น 978,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 680,000 ตำแหน่ง และเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563
  • (-) ดอลล์แข็งเทียบสกุลเงินหลัก รับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสดใส  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2563 ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐในวันนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.67% แตะที่ 90.5098 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.29 เยน จากระดับ 109.56 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9041 ฟรังก์ จากระดับ 0.8979 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2104 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2035 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2125 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2210 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.4095 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4167 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7651 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7751 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) ไบเดนยกเครื่อง‘แบล็กลิสต์ บ.จีน’สมัยทรัมป์  สัปดาห์นี้ประธานาธิบดีไบเดนตั้งใจปรับบัญชีบริษัทจีนที่อนุญาตให้นักลงทุนอเมริกันเข้าไปลงทุนได้ จากที่ประธานาธิบดีทรัมป์เคยทำไว้  ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยห้ามชาวอเมริกันเข้าไปซื้อหุ้นใน 31 บริษัทจีน ที่อาจจัดหาหรือเป็นเครื่องมือสนับสนุนกองทัพและฝ่ายความมั่นคงจีน บัญชีดำรัฐบาลทรัมป์ประกอบด้วยบริษัทโทรคมนาคม ก่อสร้าง และเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น ไชนาโมบายล์ ไชนาเทเลคอม บริษัทวีดิโอสอดแนม “ฮิควิชัน” และไชนาเรลเวย์คอนส์ทรัคชันคอร์ป  ล่าสุดสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า ประธานาธิบดีไบเดนออกคำสั่งใหม่ให้กระทรวงการคลังทำบัญชีบริษัท ที่อาจเจอโทษปรับโทษฐานพัวพันกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสอดแนมและกลาโหมของจีน โดยประธานาธิบดีจะลงนามคำสั่งในสัปดาห์นี้  เดิมที การคว่ำบาตรและเลือกบริษัทเป้าหมายเกี่ยวข้องกับรายงานของกระทรวงกลาโหมที่สภาคองเกรสมอบหมายให้จัดทำ  คำสั่งทบทวนเกิดขึ้นหลังจากบริษัทจีน 2 แห่ง คัดค้านคำสั่งจนชนะคดี ประธานาธิบไบเดนจึงเห็นว่า การขึ้นบัญชีดำบริษัทจีนต้องถูกต้องตามกฎหมายจึงจะได้ผลในระยะยาว  ทั้งนี้ แม้รัฐบาลไบเดนให้คำมั่นว่าจะใช้วิธีทางการทูตกับจีนมากกว่ารัฐบาลทรัมป์ แต่ไบเดนยืนยันว่าเขายังมีท่าทีแข็งกร้าวในหลายๆ เรื่อง เช่น การป้องกันประเทศและเทคโนโลยี

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More