Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

วิเคราะห์ราคาทองคำ 28 พ.ค.64(YLG)

- Advertisement -

378

- Advertisement -

คำแนะนำ :

ระยะสั้นราคาอาจฟื้นตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านโซนที่  1,906-1,913 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคายืนไม่ได้อาจเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมา เมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงจะมีแนวรับบริเวณ 1,884-1,872 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,884 1,872 1,859  แนวต้าน : 1,913 1,927 1,934

สรุป  ราคาทองคำปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง  ขณะที่ระหว่างวัน  ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบ 1,903.62-1,888.35  ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำร่วงลงทดสอบระตับต่ำสุด  หลังสหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ลดลงเกินคาด สู่ระดับ 406,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2020  ตัวเลขดังกล่าวช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ดีดตัวขึ้นเหนือ 1.6% ขณะที่รายงานข่าวว่าประธานาธิบดีไบเดน เตรียมจะเปิดเผยงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2022 วงเงิน 6 ล้านล้านดอลลาร์ในวันศุกร์ตามเวลาสหรัฐ  ซึ่งถือเป็นงบประมาณรายจ่ายก้อนใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1  และจะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐขาดดุลงบประมาณมากกว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า  นั่นหมายความว่ารัฐบาลสหรัฐจะต้องระดมเงินทุนด้วยการกู้เงินผ่านการออกประมูลพันธบัตร  ซึ่งปริมาณอุปทานพันธบัตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต  เป็นอีกปัจจัยที่หนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรให้พุ่งขึ้นต่อจนแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1.623% และกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  อย่างไรก็ดี  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา  หลังดีมานด์ในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 7 ปีมูลค่า 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์เป็นไปอย่างแข็งแกร่ง  ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดด้วยการอ่อนค่าลง -0.05%  จนเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดทรงตัว  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยดัชนี Core PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อของเฟด, การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล และดัชนี PMI เขตชิคาโก

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

- Advertisement -

  • (+) สหรัฐเผย GDP Q1/64 พุ่ง 6.4%  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2564 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 6.4% ในไตรมาส 1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และเป็นตัวเลขการขยายตัวสูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ไตรมาส 3/2546 หลังจากที่เติบโต 4.3% ในไตรมาส 4/2563  อย่างไรก็ดี ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับ GDP ประจำไตรมาส 1/2564 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.6%
  • (+) สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายลดลง สวนทางคาดการณ์  สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ดิ่งลง 4.4% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังเพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนมี.ค.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย.
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า นักลงทุนจับตาสหรัฐเผยดัชนี PCE วันนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 พ.ค.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยหลายรายการ ซึ่งรวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.08% แตะที่ 89.9747  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8970 ฟรังก์ จากระดับ 0.8976 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2065 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2112 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 109.78 เยน จากระดับ 109.12 เยน  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2198 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2193 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.4209 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4124 ดอลลาร์
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 38,000 ราย สู่ระดับ 406,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2563  นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 425,000 ราย และต่ำกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 444,000 ราย
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 141.59 จุด ขานรับข้อมูลแรงงานสดใส  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (27 พ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มธนาคาร นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับรายงานข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะเปิดเผยงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 วงเงิน 6 ล้านล้านดอลลาร์ในวันนี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,464.64 จุด เพิ่มขึ้น 141.59 จุด หรือ + 0.41% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,200.88 จุด เพิ่มขึ้น 4.89 จุด หรือ +0.12% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,736.28 จุด ลดลง 1.72 จุด หรือ -0.01%
  • (+/-) สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนลดลง 1.3% ในเดือนเม.ย.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลง 1.3% ในเดือนเม.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.3% ในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และสินค้าด้านอาวุธ โดยเป็นสิ่งบ่งชี้แผนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ พุ่งขึ้น 2.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นเพียง 1.0% หลังจากดีดตัวขึ้น 1.6% ในเดือนมี.ค.  เมื่อเทียบรายปี ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ทะยานขึ้น 14.7% ในเดือนเม.ย.
  • (+/-) “ไบเดน” เตรียมเผยงบประมาณรายจ่ายปี 65 วงเงิน 6 ล้านล้านดอลลาร์พรุ่งนี้  หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะเปิดเผยงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 วงเงิน 6 ล้านล้านดอลลาร์ในวันพรุ่งนี้  ทั้งนี้ ปธน.ไบเดนจะเปิดเผยงบประมาณประจำปีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เข้ารับตำแหน่งในเดือนม.ค. โดยจะประกอบด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะเข้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งช่วยเหลือภาคครัวเรือนสหรัฐเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   นิวยอร์กไทมส์ยังเปิดเผยว่า รัฐบาลของปธน.ไบเดนจะเพิ่มวงเงินในงบประมาณขึ้นสู่ระดับ 8.2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2574  นอกจากนี้ รัฐบาลจะประกาศเพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาเพื่อหารายได้มาชดเชยรายจ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ขณะที่คาดว่ารัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณลดลงนับตั้งแต่ปี 2573

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More