คำแนะนำ :
ซื้อขายด้วยความระมัดระวัง โดยอาจเสี่ยงซื้อหากราคาทองคำมีการปรับตัวลดลงมาไม่หลุดแนวรับ 1,768-1,751 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยหากราคาทองคำไม่หลุดแนวรับราคาทองคำจะพยายามปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน
แนวรับ : 1,768 1,751 1,734 แนวต้าน : 1,792 1,814 1,833
สรุป
ราคาทองคำวันศุหร์ที่ผ่านมาปิดปครับตัวเพิ่มขึ้น 26.82 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมา “แย่เกินคาด” อาทิ ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2020 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะดีดตัวขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค. ขณะที่ม.มิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 70.2 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2011 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวที่ระดับ 81.2 สถานการณ์ดังกล่าวช่วย “บั่นทอน” การคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)อาจเร่งถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงิน โดยเฉพาะการปรับลดวงเงินในการเข้าซื้อสินทรรัพย์ตามาตรการ QE เร็วว่าที่เคยประเมินไว้ ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ อ่อนค่าลง 0.55% แตะที่ 92.5195 พร้อมกับฉุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ร่วงลงสู่ระดับ 1.27% ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่มเติม ปัจจัยที่กล่าวมา ทำให้ราคาทองคำทะยานขึ้นทำระดับสูงสุดสูงกว่าวันก่อนหน้าจนกระตุ้นแรงซื้อตามทางเทคนิคอีกด้วย จึงได้เห็นราคาทองคำพุ่งขึ้นต่อและแตะระดับสูงสุดที่ 1,780.08 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างการซื้อขายของวันศุกร์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.75 ตัน สำหรับวันนี้ ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ของสหรัฐ
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) สหรัฐเตือนระวังเหตุการณ์รุนแรงช่วงครบรอบ 20 ปีวินาศกรรม 9/11 รัฐบาลสหรัฐเตือนเมื่อวันศุกร์ (13 ส.ค.) ถึงการก่อเหตุรุนแรงที่มีเป้าหมายในช่วงครบรอบ 20 ปีของเหตุวินาศกรรม 11 ก.ย. 2544 หรือ 9/11 โดยระบุว่า องค์กรก่อการร้ายต่างประเทศยังคงพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อบุคคลในสหรัฐ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิระบุว่า สหรัฐอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นภัยคุกคามเพิ่มขึ้น และวันครบรอบเหตุการณ์โจมตี 11 ก.ย. ตลอดจนวันหยุดทางศาสนาสามารถเป็นตัวเร่งให้เกิดกิจกรรมความรุนแรง ภัยคุกคามดังกล่าวนั้นรวมถึงที่เกิดจากผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ บุคคลและกลุ่มที่มีส่วนร่วมในความรุนแรงที่เกิดจากความไม่พอใจ รวมถึงผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจจากผู้ก่อการร้ายจากต่างประเทศและได้รับอิทธิพลที่เป็นอันตรายจากต่างประเทศ
- (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐลดเกินคาด ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) โดยดอลลาร์ถูกกดดันหลังจากที่มีการเปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐลดลงเกินคาด ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.55% แตะที่ 92.5195 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 109.58 เยน จากระดับ 110.46 เยน, อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9152 ฟรังก์ จากระดับ 0.9239 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2517 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2527 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1794 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1729 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3868 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3800 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7373 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7332 ดอลลาร์สหรัฐ
- (+) สหรัฐ,อังกฤษเร่งอพยพประชาชนออกจากอัฟกัน หลังตาลีบันใกล้ยึดคาบูล สถานการณ์ในอัฟกานิสถานกำลังทวีความรุนแรง หลังจากที่กลุ่มนักรบชาวตาลีบันสามารถยึดครองเมืองกันดาฮาร์และเฮรัต ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 และ 3 ของประเทศ ส่งผลให้มีความวิตกว่าตาลีบันอาจรุกคืบยึดครองกรุงคาบูล ซึ่งเป็นเมืองหลวง ในอีกไม่กี่วัน สหรัฐเตรียมส่งทหารจำนวน 3,000 นายเพื่อช่วยเหลือในการอพยพพนักงานออกจากสถานทูตสหรัฐประจำอัฟกานิสถาน ขณะที่อังกฤษจะส่งทหารราว 600 นายเพื่ออพยพประชาชนออกจากประเทศ นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และนอร์เวย์ ต่างก็ระบุว่าจะอพยพประชาชนของตนออกจากอัฟกานิสถานเช่นกัน
- (+) บอนด์ยีลด์สหรัฐร่วง หลังเผยดัชนีความเชื่อมั่นต่ำสุดรอบ 10 ปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ หลังการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงต่ำสุดรอบ 10 ปี ณ เวลา 22.32 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.309% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 1.959%
- (+) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐต่ำสุดรอบ 10 ปี ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 70.2 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2554 จากระดับ 81.2 ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวที่ระดับ 81.2 ดัชนีปรับตัวลง ขณะที่ผู้บริโภคมีความวิตกเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อและการจ้างงาน รวมทั้งเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
- (+) สหรัฐเผยดัชนีราคานำเข้าเพิ่มน้อยกว่าคาดในเดือนก.ค. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ค. โดยปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน หลังจากพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนมิ.ย. ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน แต่การเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ค. ถือเป็นการปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2563 นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีราคานำเข้าจะดีดตัวขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค.
- (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 15.53 จุด หุ้นดิสนีย์ปรับตัวขึ้นช่วยหนุนตลาด ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) โดยดัชนีดาวโจนส์ และ S&P500 ปิดตลาดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน หลังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นวอลท์ ดิสนีย์ แต่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากถูกกดดันจากการเปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐที่ลดลงเกินคาด ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,515.38 จุด เพิ่มขึ้น 15.53 จุด หรือ +0.04%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,468.00 จุด เพิ่มขึ้น 7.17 จุด หรือ +0.16% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,822.90 จุด เพิ่มขึ้น 6.64 จุด หรือ +0.04%
ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.