สภาทองคำโลก (WGC) รายงานโดยอ้างข้อมูลใหม่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า
ในเดือน มี.ค. ธนาคารกลางของรัสเซีย ได้ขายทองคำสำรอง 3.1 ตัน หลังราคาทองคำได้เริ่มฟื้นตัว พร้อมเผยแพร่การถือครองทองคำรายเดือน ย้อนหลังไปถึงเดือน ก.พ.2565
Krishan Gopaul senior analyst ของ WGC กล่าวว่า
จากข้อมูลล่าสุด พบว่า ทองคำสำรองของรัสเซียเพิ่มขึ้น 28 ตัน แต่นักวิเคราะห์ยังมีบางคำถามเกี่ยวกับการผลิตทองคำของรัสเซียประมาณ 300 ตัน ต่อไป ว่าได้ส่งออกไปที่ไหน เพราะทองที่ผลิตขึ้นมากกว่าความต้องการในประเทศ
ขณะที่ ธนาคารกลางอีกแห่ง ที่ขายทองคำในเดือน มี.ค. คือ ประเทศตุรกี ซึ่งเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดในปี 2565
โดยปีที่แล้ว ซื้อมากถึง 148 ตัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งในเดือน มี.ค. ตุรกีได้ขายทองคำออก 15 ตัน เป็นการขายครั้งแรก นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2564 ทำให้ทองคำสำรองของประเทศลงเหลือ 572 ตัน
นอกจากนั้น ในเดือนเดียวกัน ธนาคารแห่งชาติของคาซัคสถาน ยังได้ลดทองคำสำรองลง 10.5 ตัน ทำให้ปริมาณทองคำสำรองทั้งหมดของประเทศอยู่ที่ 332 ตัน ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2561
แม้ว่า ธนาคารแห่งชาติของคาซัคสถาน และ ตุรกี จะขายทองคำ แต่มีธนาคารกลางหลายชาติเดินหน้าซื้อทองคำ
ทั้ง ธนาคารแห่งชาติสาธารณรัฐเช็ก ซื้อทองคำ 1.5 ตัน ในเดือน มี.ค. ถือเป็นการซื้อในปริมาณสูงสุด หลังจากได้ซื้อทองคำ 1.4 ตัน ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณทองคำสำรองทั้งหมดของประเทศอยู่ที่ 13.5 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางปี 2549
ขณะที่ อินเดียซื้อทองคำแท่ง 3.5 ตัน เมื่อเดือนที่แล้วเช่นกัน ทำให้ยอดรวมในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นเป็น 7.3 ตัน ซึ่งการซื้อครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากธนาคารประชาชนจีนรายงานการซื้อทองคำเพิ่มเติมอีก 18 ตัน ในเดือน มี.ค. นับเป็นการซื้อทองคำติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
ที่มา : Kitco.com
Comments are closed.