Fundamental
- เยลเลนคาดว่าเงินเฟ้อในสหรัฐฯจะยืนระดับสูงต่อไปอีกพักใหญ่จากภาวะโภคภัณฑ์ราคาแพงทั้งพลังงานและอาหาร แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะค่อยดีขึ้นทีละนิด พร้อมโต้ว่านโยบายอัดฉีดเงินช่วยเหลือในช่วงโควิดของไบเดนไม่มีส่วนผลักดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง
- ราคาน้ำมัน WTI ยืนรักษาระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ที่ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะระยะสั้นผลิตไม่ทัน
- ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้จาก +4.1% ลงเหลือ +2.9%
- ราคาทองเอื้อมแตะเกือบถึง 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งสัญญาณเตือนว่านักลงทุนกำลังวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อภาวะเงินเฟ้อและการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เพื่อตั้งรับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะมาถึงในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของราคาโภคภัณฑ์อันเป็นผลมาจากสงครามยูเครนและความลุ่ม ๆ ดอน ๆ ของเศรษฐกิจจีนในปีนี้
- ปูตินสลับไม้อ่อนเป็นไม้แข็งหลังยูเครนยอมถอยให้บ้างในการเจรจาจบสงคราม โดยกลับมายิงโจมตีต่อพร้อมบีบให้ยูเครนยอมรับว่าไครเมียเป็นของรัสเซีย และต้องปล่อยให้โดเนตสค์และลูฮานสค์เป็นรัฐอิสระ ก่อนจะเจรจากันใหม่ในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้านี้
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 2 กับ 10 ปี ปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่ส่วนต่างระหว่างทั้งคุ๋ยังคงบีบแคบเข้าหากันมากกว่าเดิมจนเกือบจะชนกันเป็น inverted yield curve แล้ว
- การเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนเรื่องจะให้อิสระกับโดเนตสค์และลูฮานสค์ ยังคงไร้ความคืบหน้า
- ให้เป็นรัฐอิสระ และยินดีมอบไครเมียให้รัสเซียอย่างเป็นทางการ
Technical
- ดอลลาร์อ่อนค่าทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นอีกครั้งโดยยังลงมาไม่ถึงช่วง 1,820-1,830 แต่การอยู่ใต้เส้น MA ทำให้ภาพรวมยังไม่เปลี่ยนไปเป็นขาขึ้น
- RSI ลงมาถึง oversold แล้ว แต่รีบดีดขึ้นตามราคาโดยไม่มีการตั้งหลักก่อน จึงคงคาดการณ์เดิมว่าราคาจะย่อลงมายืนที่บริเวณ 1,830
- ทิศทางวันนี้ แกว่งในกรอบจำกัด
- จับจังหวะเล่นยังไง? short เหนือ 1,850 เน้นเล่นสั้น โดย stop loss ถ้าขึ้นสูงกว่า 1,855 และถ้าลงมาที่แนว 1,820-1,830 ให้สะสมฝั่งซื้อ
- ทั้งนี้ คงมุมมองเดิมว่าราคาจะหลุด 1,840 ลงมาก่อน แล้วค่อยดีดกลับขึ้นมาใหม่
Attention
- วันพรุ่งนี้ คาด ECB จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยแม้เงินเฟ้อดีดตัวสูงขึ้นไม่หยุด แต่ให้จับตาความเห็นหลังประชุมว่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วสุดในเดือนไหน
- วันมะรืนนี้ คาดเงินเฟ้อสหรัฐฯยังสูงอยู่มาก แต่เทียบกับปีก่อนแล้วจะลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งแสดงถึงภาวะเงินเฟ้อที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
- Fed Fund Rate Futures ล่าสุด 97% มองขึ้นดอกเบี้ยเดือน มิ.ย. ที่ 0.5% และ 3% มองขึ้นรวดเดียว 0.75%
- Fed Fund Rate Futures ล่าสุด เกือบ 100% มองขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. รวดเดียว 0.50%
- Fed จำใจต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ทางหนึ่งเพื่อลดเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น แต่อีกทางหนึ่งก็ต้องทำเพื่อให้มีเบาะรับแรงกระแทกจากสัญญาณที่เริ่มเห็นแล้วว่าเศรษฐกิจมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดการถดถอยในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเป็นรอบวัฏจักรที่เร็วกว่าในอดีต
- Fed Fund Rate Futures ล่าสุด 96% มองขึ้นดอกเบี้ยเดือน มี.ค. ที่ 0.25% และ 4% คาดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ย
- Fed Fund Rate Futures ล่าสุดเกือบ 100% มองขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ค. ที่ 0.25%
- ดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มจะปรับขึ้นเร็วกว่าคาดเพราะสหรัฐฯพร้อมขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ 5-7 ครั้ง เพื่อกดเงินเฟ้อ
- รัฐบาลสหรัฐฯจะมีเงินใช้จ่ายไปถึง 11 มี.ค.
- กระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ เฟส 4
- สัปดาห์นี้ สภาสหรัฐฯเริ่มพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดผลกระทบจาก COVID-19 รอบใหม่
- นักลงทุนเชื่อมั่น 45% ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยเป็น 0%
- ระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 0% ภายในครึ่งปีแรกอยู่สูงกว่า 75%
- ความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ติดตาม แผนการทำข้อตกลงการค้าเฟส 2
ขอขอบคุณ : บริษัท จีที โกลด์ บูลเลี่ยน จำกัด
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.