Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 6 ธ.ค.64 by YLG

- Advertisement -

389

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย 1,796

จุดทำกำไร     ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,767-1,751

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,808

แนวรับ : 1,767 1,751 1,732  แนวต้าน : 1,796 1,808 1,821

สรุป  

- Advertisement -

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากปัจจัย 2 ประการ  ได้แก่  (1.) การเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นเพียง 210,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 581,000 ตำแหน่ง และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ที่เพิ่มขึ้น 4.8% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 5.0% ซึ่งตัวเลขในตลาดแรงงานที่น่าผิดหวัง  ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ลดช่วงบวกลงจากระดับสูงสุดในระหว่างวันที่ 96.448 จนเป็นปัจจัยแรกที่หนุนทองคำ และ (2.) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐร่วงลงต่ำกว่า 1.4% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ย. จากแรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  ขณะที่นักลงทุนยังคงปิดรับความเสี่ยง(Risk off) ท่ามกลางความวิตกว่าการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอนอาจกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก  ล่าสุดโกลด์แมน แซคส์ ได้ประกาศปรับลดคาดการณ์ GDP ของสหรัฐ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.2% ในปี 2022 เหลือเป็นขยายตัว 3.8%  ขณะที่ IMF มีแนวโน้มที่จะปรับลดคาดการณ์ GDP โลก โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของCOVID-19 สายพันธุ์โอไมครอน  สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวลดลงในวันศุกร์  ส่วนทองคำทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,786.11 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำยังคงเป็นไปอย่างจำกัด  ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนมองว่าตัวเลขการจ้างงานที่แย่เกินคาดอาจยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแผนการของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเร่งลด QE และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า  ทำให้นักลงทุนขายทำกำไรทองคำออกมาเป็นระยะ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.79 ตัน  สำหรับวันนี้ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนค่า นลท.ผิดหวังข้อมูลจ้างงาน  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (3 ธ.ค.) โดยถูกกดดันจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่น่าผิดหวังของสหรัฐ  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.04% แตะที่ 96.1195 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 112.62 เยน จากระดับ 113.16 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9175 ฟรังก์ จากระดับ 0.9208 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2834 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2812 ดอลลาร์  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1312 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1296 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3230 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3297 ดอลลาร์
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 59.71 จุด ผิดหวังตัวเลขจ้างงาน-วิตกโอไมครอน  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ (3 ธ.ค.) โดยถูกกดดันจากการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ที่ยังคงแพร่ระบาด  ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,580.08 จุด ลดลง 59.71 จุด หรือ -0.17%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,538.43 จุด ลดลง 38.67 จุด หรือ -0.84% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,085.47 จุด ร่วงลง 295.85 จุด หรือ -1.92%
  • (+) สหรัฐเจอโอไมครอนในอีก 6 รัฐ แต่ CDC ยันเดลตายังเป็นภัยคุกคามมากกว่า  ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยว่า รัฐอีก 6 แห่งในสหรัฐยืนยันการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในวันศุกร์ (3 ธ.ค.) แต่ก็ระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์เดลตายังคงเป็นภัยคุกคามมากกว่าขณะที่เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว และชาวอเมริกันจะรวมตัวกันในช่วงวันหยุด  รัฐนิวเจอร์ซีย์, แมริแลนด์, มิสซูรี, เนแบรสกา, เพนซิลเวเนีย และยูทาห์ ต่างรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในวันศุกร์ ขณะที่รัฐมิสซูรีกำลังรอการยืนยันจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐเกี่ยวกับการติดเชื้อของผู้อยู่อาศัยรายหนึ่งในเซนต์หลุยส์ซึ่งเพิ่งเดินทางภายในสหรัฐ
  • (+) โกลด์แมน แซคส์ หั่นคาดการณ์ GDP สหรัฐปี 65 เหตุวิตกโอไมครอน  โกลด์แมน แซคส์ ประกาศปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.2% ในปี 2565 เหลือเป็นขยายตัว 3.8%  โจเซปต์ บริกส์ นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยว่า การปรับลดตัวเลขคาดการณ์ครั้งนี้เป็นผลจากความเสี่ยงและความไม่แน่นอน สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งอาจทำให้เปิดเศรษฐกิจได้ช้าลง  นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนอาจทำให้ปัญหาขาดแคลนซัพพลายย่ำแย่ลงไปอีก หากประเทศอื่น ๆ ยกระดับมาตรการคุมเข้ม อย่างไรก็ดี การที่ประเทศคู่ค้ามีอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นน่าจะเข้ามาช่วยในจุดนี้ได้บ้าง
  • (-) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐปรับตัวลงในเดือนพ.ย.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.0 ในเดือนพ.ย. จากระดับ 58.7 ในเดือนต.ค.
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐพุ่งขึ้นในเดือนพ.ย. สวนทางคาดการณ์  สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 69.1 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2540 และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัวลงสู่ระดับ 65.0 จากระดับ 66.7 ในเดือนต.ค.
  • (-) IMF เรียกร้องเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งการคุมเข้มนโยบายการเงิน ท่ามกลางความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น  “ขณะนี้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐกำลังใกล้แตะระดับแนวโน้มก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ขณะที่ตลาดแรงงานตึงตัว ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อในวงกว้าง ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นต่อเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ซึ่งรวมถึงยูโรโซน” “ดังนั้น จึงเป็นการเหมาะสมสำหรับเฟดที่จะเร่งการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อปูทางสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” IMF ระบุ
  • (+/-) สหรัฐเผยจ้างงานนอกภาคเกษตรต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ย.  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 210,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 581,000 ตำแหน่ง  ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 4.2% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.5%  กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.ย. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 379,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 312,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนต.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 546,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 531,000 ตำแหน่ง  ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 4.8% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 5.0%

ขอขอขบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More