คำแนะนำ :
เข้าซื้อหากราคาไม่หลุดบริเวณแนวรับ 1,790-1,787 ดอลลาร์ต่อออนซ์ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,808-1,810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายไปที่แนวต้านถัดไป
แนวรับ : 1,787 1,776 1,760 แนวต้าน : 1,810 1,821 1,833
สรุป
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ (1.) การอ่อนค่าของดอลลาร์หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่วนใหญ่ออกมาแย่เกินคาด อาทิ ตัวเลขประมาณการครั้งแรก GDP ไตรมาส 3/2021 ที่ขยายตัวเพียง 2.0% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.7% และเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 1 ปี และตัวเลข Pending home sales ที่ลดลง 2.3% ในเดือนก.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับตัวขึ้น แม้ว่าตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานจะลดลงเกินคาดก็ตาม (2.) การแข็งค่าของสกุลเงินยูโร หลังวานนี้ธนาคารกลางยุโรป(ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยและวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามคาด ขณะที่นางคริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB ยอมรับว่า อัตราเงินเฟ้ออาจใช้เวลาในการปรับตัวลดลงนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้นางลาการ์ด จะระบุว่าการคาดการณ์ของตลาดในปัจจุบันที่ว่า ECB อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในปีหน้านั้นไม่สอดคล้องกับแนวทางของ ECB อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางส่วนมองว่าถ้อยแถลงของประธาน ECB นั้น Dovish ไม่มากพอจะเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ในเชิง Hawkish ในตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยูโรแข็งค่าขึ้นเกือบ 0.7% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และปิดแข็งค่าขึ้นในรายวันมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. จนเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ราคาทองคำทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,810.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิคจะลดช่วงบวกทองคำในภายหลัง ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -0.87 ตัน สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยตัวเลข Core PCE, รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคล, ดัชนี PMI เขตชิคาโก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จาก UoM
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) ยูโรแข็งค่า ขานรับ ECB คงดอกเบี้ยตามคาดยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับการถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ที่ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.49% แตะที่ 93.3484 เมื่อคืนนี้ ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1683 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1608 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3787 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3745 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7538 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7524 ดอลลาร์สหรัฐดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 113.46 เยน จากระดับ 113.77 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9118 ฟรังก์ จากระดับ 0.9173 ฟรังก์
- (+) สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายร่วงลงในเดือนก.ย.สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ลดลง 2.3% สู่ระดับ 116.7 ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีปรับตัวขึ้นในเดือนก.ย. การทำสัญญาขายบ้านลดลงทุกภูมิภาค โดยถูกกดดันจากราคาบ้านในระดับสูง และการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง เมื่อเทียบรายปี ดัชนีร่วงลง 8.0% ในเดือนก.ย.
- (+) สหรัฐเผย GDP Q3/64 โตเพียง 2.0% ขยายตัวต่ำสุดรอบกว่า 1ปีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่1 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2564 ในวันนี้ โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวเพียง 2.0% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 2.7% การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 3 ถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่เผชิญภาวะหดตัว 31.2% ในไตรมาส 2 ของปี 2563 ก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจกิจสหรัฐเติบโต 6.7% ในไตรมาส 2 และ 6.3% ในไตรมาส 1
- (+) อินเดียทดสอบ ‘ขีปนาวุธอัคนี’ แบบติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีนสำนักข่าวเอพีรายงานว่า อินเดียได้ทำการทดสอบขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยไกลข้ามทวีป แบบที่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ ท่ามกลางความตึงเครียดด้านพรมแดนกับจีน แถลงการณ์ของรัฐบาลอินเดียยืนยันความสำเร็จของการทดสอบขีปนาวุธ อัคนี-5 (Agni-5) ที่ถูกยิงจากเกาะแห่งหนึ่งนอกชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย และไปตกในอ่าวเบงกอล “ด้วยความแม่นยำในระดับสูง” แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การทดสอบครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของอินเดียที่ต้องการเสริมศักยภาพในการป้องกันตนเองโดยไม่รุกรานประเทศใดก่อน
- (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง10,000 ราย สู่ระดับ 281,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 290,000 ราย และต่ำกว่า 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
- (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 239.79 จุด รับผลประกอบการแข็งแกร่งดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดทำนิวไฮ ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งรวมถึงบริษัทเมอร์ค แอนด์ โค และฟอร์ด มอเตอร์ โดยผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทเหล่านี้ได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ของสหรัฐที่ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,730.48 จุด เพิ่มขึ้น 239.79 จุด หรือ +0.68% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,596.42 จุด เพิ่มขึ้น 44.74 จุด หรือ +0.98% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,448.12 จุด เพิ่มขึ้น 212.28 จุด หรือ +1.39%
- (+/-) ECB มีมติคงนโยบายการเงินตามคาด แม้เงินเฟ้อพุ่งสูงสุด 13 ปีธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันนี้ ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ทั้งนี้ ที่ประชุม ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ ECB ระบุว่า ทางธนาคารจะยังคงซื้อพันธบัตรวงเงิน 2 หมื่นล้านยูโร/เดือนภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) และซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) จนถึงเดือนมี.ค.2565 วงเงินรวม 1.85 ล้านล้านยูโร ECB ประกาศคงนโยบายการเงินในวันนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนพุ่งแตะ 3.4% ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี
ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.