Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 22 ต.ค.64 by YLG

- Advertisement -

344

- Advertisement -

คำแนะนำ :

ชะลอการซื้อหากราคาหลุดโซน 1,766-1,760 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่หากราคาการดีดตัวขึ้นไปยังคงแนะนำเปิดสถานะขายในโซน 1,789-1,792  ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากยืน 1,792 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้)

แนวรับ : 1,760 1,747 1,731  แนวต้าน : 1,792 1,808 1,821

สรุป  

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ช่วงเช้าของวานนี้ตามเวลาไทยราคาทองคำจะพุ่งขึ้นก่อนทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,789.28  ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำเกิดแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิคสลับออกมา  หลังจากเกิดสัญญาณที่บ่งชี้ว่าแรงซื้อเริ่มชะลอตัวลง  ก่อนที่แรงขายจะชัดเจนขึ้นหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่วนใหญ่ออกมาดีเกินคาด  อาทิ  ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 290,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2020 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐ  และสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้น 7% สู่ระดับ 6.29 ล้านยูนิตในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.09 ล้านยูนิต  สถานการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ ให้แข็งค่าขึ้น 0.17% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 1.6816% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. จนเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  นั่นทำให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,776.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  การปรับตัวลงของราคาทองคำยังคงอยู่ในกรอบ  โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อ Buy the dip ขณะที่นักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ  จนเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงราคาทองคำให้ฟื้นตัวขึ้นได้ในระหว่างวัน  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง  -2.03 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคการบริการจากมาร์กิต

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เลขาฯ นาโต้เผย ความสัมพันธ์กับรัสเซีย “ตกต่ำถึงขั้นสุด” แล้ว  เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) เปิดเผยในวันพฤหัสบดีว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพันธมิตรนี้กับรัสเซีย ได้ดำดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่หลังการสิ้นสุดสงครามเย็นแล้ว  พลเอก เยนส์ ชโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต้ ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและรัสเซีย ระหว่างการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมนาโต้ที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม  ความตึงเครียดในด้านความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมายกระดับขึ้นอย่างมาก ขณะที่ รัสเซียประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ตนจะระงับการส่งคณะผู้แทนถาวรประจำนาโต้ เพื่อเป็นการตอบโต้กรณีที่องค์การแห่งนี้สั่งขับเจ้าหน้าที่ตัวแทนรัสเซียจำนวน 8 รายออกเมื่อต้นเดือนนี้  นาโต้กล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่รัสเซียที่ถูกขับออกจากกลุ่มนั้นเป็นสายลับ แต่รัฐบาลเครมลินปฏิเสธข้อกล่าวหานี้  พลเอก ชโตลเทนเบิร์ก กล่าวในวันพฤหัสบดีด้วยว่า ตนนั้นรู้สึกเสียใจต่อการตัดสินใจของรัสเซียที่จะปิดสำนักงานนาโต้ในกรุงมอสโก แต่ระบุว่า ทางองค์การฯ ยังคงมีช่องทางอื่นในการสื่อสารกับเครมลินอยู่
  • (+) เฟดฟิลาเดลเฟียเผยดัชนีภาคการผลิตปรับตัวลงในเดือนต.ค.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ร่วงลงสู่ระดับ 23.8 ในเดือนต.ค. จากระดับ 30.7 ในเดือนก.ย.  อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 0 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติกยังคงมีการขยายตัว โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่นักลงทุนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า
  • (-) สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองสูงกว่าคาดในเดือนก.ย.  สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้น 7% สู่ระดับ 6.29 ล้านยูนิตในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.09 ล้านยูนิต  ยอดขายบ้านมือสองได้รับปัจจัยบวกจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับตัวลง  อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบรายปี ยอดขายบ้านมือสองลดลง 2.3% ในเดือนก.ย.
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 290,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ  นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 300,000 ราย
  • (-) ดอลล์แข็งค่า หลังสหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานลด  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ต.ค.) หลังการเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.22% แตะที่ 93.7690 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2378 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2315 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยนที่ระดับ 113.94 เยน จากระดับ 114.20 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9184 ฟรังก์สวิส จาก 0.9188 ฟรังก์สวิส  ส่วนยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1624 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1655 ดอลลาร์, ปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.3784 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3832 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะ 0.7465 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7521 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งทะลุ 1.67% ขานรับตัวเลขว่างงานต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 1.67% ขานรับตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานแตะระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือน  ณ เวลา 00.24 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 1.672% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.131%
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 6.26 จุด หุ้น IBM ร่วงกดดันตลาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ต.ค.) โดยถูกกดดันจากหุ้น IBM ที่ร่วงลงหลังรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวัง แต่ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ปิดบวกโดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นชั้นนำ อาทิ หุ้นเทสลา  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,603.08 จุด ลดลง 6.26 จุด หรือ -0.02%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,549.78 จุด เพิ่มขึ้น 13.59 จุด หรือ +0.30% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,215.70 จุด เพิ่มขึ้น 94.02 จุด หรือ +0.62%

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More