Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 2 ก.พ.65 by YLG

- Advertisement -

282

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะขาย 1,809 -1,815

จุดทำกำไร     ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,784-1,780

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,815

แนวรับ : 1,780 1,766 1,753  แนวต้าน : 1,815 1,834 1,849

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกในประเด็นยูเครน และไปได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อทางเทคนิคหลังจากราคาทองคำทะลุผ่านแนวต้านจิตวิทยาและเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันบริเวณ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นอกจากนี้ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากดัชนีดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเป็นวันทำการที่ 2 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกซึ่งได้บั่นทอนความต้องการสกุลเงินปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนบางส่วน “ลด” การคาดการณ์การที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนมี.ค. หลังผู้กำหนดนโยบายของเฟด อาทิ นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดเซนต์หลุยส์ และนายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดฟิลาเดลเฟีย ที่แม้จะสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 3-4 ครั้งในปีนี้ แต่ก็ “ไม่เห็นด้วย” กับการขึ้นดอกเบี้ย 0.5% สะท้อนจาก Fed funds futures ที่บ่งชี้โอกาสเหลือเพียง 7.5% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในเดือนมี.ค. ซึ่ง “ลดลง” จากระดับ 32% และ 17% ในวันศุกร์และวันจันทร์ตามลำดับ สถานการณ์ดังกล่าวกดดันดอลลาร์จนหนุนให้ราคาทองคำพุ่งทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,808.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด อาทิ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและตัวเลขเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกของราคาทองคำ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +0.29 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมาร์กิตและ ISM, JOLTS Job Openings และค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนค่า นักลงทุนจับตาการประชุม BoE-ECB  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (1 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดี รวมทั้งตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.28% แตะที่ 96.27 เมื่อคืนนี้
  • (+) อังกฤษ-ยูเครนเตือนการรุกรานของรัสเซียจะเป็นการผิดพลาดอย่างมหันต์  อังกฤษและยูเครนออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า การรุกรานของรัสเซียจะถือเป็นการทำผิดพลาดอย่างมหันต์ ขณะที่อังกฤษจะร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการทหารต่อยูเครน  ทั้งนี้ อังกฤษและยูเครนออกแถลงการณ์ดังกล่าว หลังการพบปะกันระหว่างนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ผู้นำอังกฤษ และประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน 
  • (+) ‘ปูติน’ ระบุสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรนาโต้เพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้องของรัสเซีย  ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน กล่าวในวันอังคารว่า สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ ได้เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องสำคัญด้านความมั่นคงของรัสเซีย คือการปฏิเสธการเป็นสมาชิกของยูเครนในองค์การนาโต้ และการถอนอาวุธออกจากบริเวณที่ใกล้กับพรมแดนรัสเซีย  ปธน.ปูติน ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีความตึงเครียดดังกล่าวครั้งแรกในรอบนานกว่าหนึ่งเดือน โดยระบุว่ารัฐบาลรัสเซียยังคงจับตาท่าทีของสหรัฐฯ และองค์การนาโต้ ที่มีต่อข้อเรียกร้องด้านความมั่นคงของรัสเซีย  เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัสเซียได้ส่งเอกสารถึงสหรัฐฯ ระบุถึงสิ่งที่รัสเซียต้องการในความพยายามลดความตึงเครียดบริเวณพรมแดนภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งรวมถึงการระงับไม่ให้ยูเครนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การนาโต้ และขอให้นาโต้ถอนกำลังทหารและอาวุธออกจากประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซีย  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าวของรัสเซีย พร้อมขอให้รัสเซียถอนกำลังทหารมากกว่า 100,000 คนออกจากพรมแดนติดกับยูเครนด้วย แม้ทางรัสเซียยืนยันว่าไม่มีความตั้งใจที่จะบุกรุกยูเครนก็ตาม
  • (+) สหรัฐกร้าวใส่รัสเซีย “ถอนทหารจากชายแดนยูเครน หากไม่ต้องการทำสงคราม”  เจ้าหน้าที่อาวุโสรายหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเปิดเผยว่า นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้โทรศัพท์แจ้งนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ในวันนี้ว่า ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่รัสเซียจะต้องถอนกำลังทหารออกจากชายแดนยูเครน หากรัสเซียไม่มีความประสงค์ที่จะโจมตียูเครน 
  • (+) สหรัฐเผยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนธ.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนพ.ย.
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 273.38 จุด รับแรงซื้อหุ้นพลังงาน-หุ้นแบงก์  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันอังคาร (1 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยบวกจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,405.24 จุด เพิ่มขึ้น 273.38 จุด หรือ +0.78%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,546.54 จุด เพิ่มขึ้น 30.99 จุด หรือ +0.69% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,346.00 จุด เพิ่มขึ้น 106.12 จุด หรือ + 0.75%
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนธ.ค.  สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้น 150,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.9 ล้านตำแหน่งในเดือนธ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.3 ล้านตำแหน่ง
  • (-) ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐปรับตัวลงในเดือนม.ค.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.5 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน จากระดับ 57.7 ในเดือนธ.ค.
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐปรับตัวลงในเดือนม.ค.  สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 57.6 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2563 แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 57.4 จากระดับ 58.8 ในเดือนธ.ค.
  • (-) “แบงก์ ออฟ อเมริกา” คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้งในปีนี้  แบงก์ ออฟ อเมริกาออกรายงานคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 7 ครั้งในปีนี้ โดยปรับขึ้นครั้งละ 0.25%  หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่แบงก์ ออฟ อเมริกาคาดการณ์ หมายความว่า เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมทั้ง 7 ครั้งที่เหลือในปีนี้ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมี.ค.

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More