Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 18 ต.ค.64 by YLG

- Advertisement -

339

- Advertisement -

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรในกรอบจากการแกว่งตัว หากราคายังไม่ผ่านโซน 1,781 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รอเปิดสถานะซื้อในบริเวณ 1,764-1,757 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,757 ดอลลาร์ต่อออนซ์) เพื่อไปรอพิจารณาแนวรับถัดไป

แนวรับ : 1,757 1,745 1,731  แนวต้าน : 1,781 1,800 1,817

สรุป

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดดิ่งลง 28.85 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆ  ได้แก่  (1.) การเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนก.ย. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าอาจลดลง 0.2% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.574% จนส่งผลกดดันราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  (2.) ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยยังคงได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการทะยานขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยง  ทั้งนี้  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดในวันศุกร์ และปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดเมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่บริษัทโกลด์แมน แซคส์เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่แข็งแกร่ง รวมถึงตัวเลขยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.ย. (3.) บิตคอยน์พุ่งขึ้นทะลุขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือระดับ 61,000 ดอลลาร์จากการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) จะให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุน ETF บิตคอยน์เพื่อทำการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า  สถานการณ์ดังกล่าวบั่นทอนเม็ดเงินเก็งกำไรออกจากตลาดทองคำ  และ (4.) กองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -2.62 ตัน  สู่ระดับ 980.10 ตัน  ทำให้ในปี 2021 กองทุน SPDR ถือครองทองลดลงแล้ว -190.64 ตันสะท้อนกระแสเงินทุนที่ไหลออกจาก ETF ทองคำ  ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดกดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันบริเวณ  1,776 ดอลลาร์ต่อออนซ์จนกระตุ้นแรงขายตามทางเทคนิคเพิ่มเติม  นั่นทำให้ราคาทองร่วงลงต่อจนทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ  1,764.88 ดอลลาร์ต่อออนซ์  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ 

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เฟดนิวยอร์คเผยดัชนีภาคการผลิตต่ำกว่าคาดในเดือนต.ค.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ต่ำกว่าคาดในวันนี้  ทั้งนี้ เฟดสาขานิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตร่วงลงสู่ระดับ 19.8 ในเดือนต.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 26.5 จากระดับ 34.3 ในเดือนก.ย.  ดัชนีภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภาวะคอขวดของอุปทาน ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวลง และการจ้างงานชะลอตัว
  • (+) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงลง สวนทางคาดการณ์ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 71.4 ในเดือนต.ค. จากระดับ 72.8 ในเดือนก.ย. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 73.0
  • (+) สหรัฐเผยเกาหลีเหนืออาจทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลในปีหน้าสำนักข่าวกรองกลาโหมสหรัฐ (DIA) รายงานว่า เกาหลีเหนืออาจเริ่มทำการทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลอีกครั้งในปีหน้า พร้อมเตือนว่าเกาหลีเหนือจะยังคงเป็นภัยคุยคักคามมั่นคงที่สำคัญของสหรัฐและชาติพันธมิตร  รายงานดังกล่าวซึ่งเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นการส่งสัญญาณเตือนครั้งล่าสุดเกี่ยวกับความพยายามของเกาหลีเหนือที่จะยกระดับแสนยานุภาพของกองทัพแม้ว่าจะไม่ได้ทำการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปหรืออุปกรณ์นิวเคลียร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ตาม  
  • (+) ETF บิตคอยน์กองแรกในสหรัฐจ่อเริ่มเทรดในสัปดาห์หน้าProSharesบริษัทจัดการสินทรัพย์ของสหรัฐได้เปิดเผยรายงานที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐเมื่อวันศุกร์ (15 ต.ค.) บ่งชี้ว่า กองทุน ETF สัญญาล่วงหน้าบิตคอยน์ของ ProSharesจะเริ่มการซื้อขายในสัปดาห์หน้า ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมคริปโตในสหรัฐ  สำนักข่าว CNBC รายงานว่า SEC ยังไม่ได้อนุมัติจัดตั้งกองทุน ETF สัญญาล่วงหน้าบิตคอยน์อย่างเป็นทางการในช่วงบ่ายวันศุกร์ และอาจจะไม่ประกาศอนุมัติจัดตั้งกองทุน ETF บิตคอยน์อย่างเป็นทางการ แต่การประกาศของ ProSharesบ่งชี้ว่า SEC ไม่มีแนวโน้มที่จะขัดขวางการจดทะเบียนกองทุน ETF บิตคอยน์ดังกล่าวในเวลานี้ 
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า นลท.ขายสกุลเงินปลอดภัยรับข้อมูลศก.แกร่งดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย หลังรัฐบาลสหรัฐเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นสวนทางคาดการณ์ในเดือนก.ย.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.02% แตะที่ 93.9394 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9227 ฟรังก์ จากระดับ 0.9233 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 114.26 เยน จากระดับ 113.66 เยน และที่ระดับ 1.2383 ดอลลาร์แคนาดา จาก 1.2368 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1605 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1599 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3748 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3686 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7420  ดอลลาร์ จากระดับ 0.7417 ดอลลาร์
  • (-) ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.)และปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดเมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่บริษัทโกลด์แมน แซคส์เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่แข็งแกร่ง และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.ย.  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,294.76 จุด เพิ่มขึ้น 382.20 จุด หรือ +1.09%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,471.37 จุด เพิ่มขึ้น 33.11 จุด หรือ +0.75% และดัชนี Nasdaq 14,897.34 จุด เพิ่มขึ้น 73.91 จุด หรือ +0.50%
  • (-) บิตคอยน์พุ่งไม่หยุดใกล้ทุบนิวไฮ ล่าสุดทะลุ $61,000 ยืนเหนือ 2,000,000บาทบิตคอยน์พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ล่าสุดทะลุระดับ 61,000 ดอลลาร์ และอยู่เหนือระดับ 2,000,000 บาท ขณะที่นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) จะให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุน ETF บิตคอยน์เพื่อทำการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า  ณ เวลา 00.33 น.ตามเวลาไทย บิตคอยน์ทะยานขึ้น 5.98% สู่ระดับ 61,333.62 ดอลลาร์ หรือราว 2,042,400 บาท ในการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Coinbase
  • (-) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นในเดือนก.ย. สวนทางคาดการณ์กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนก.ย. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 0.2% หลังจากดีดตัวขึ้น 0.9% ในเดือนส.ค.  ถึงแม้ยอดค้าปลีกดีดตัวขึ้นในเดือนก.ย. แต่นักลงทุนกังวลว่าภาวะตึงตัวของอุปทานจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลวันหยุด  ส่วนยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนก.ย. หลังจากพุ่งขึ้น 2.6% ในเดือนส.ค.

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More