Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 17 ก.พ.65 by YLG

- Advertisement -

417

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,854-1,837

จุดทำกำไร     ขายทำกำไร $1,879

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,837

แนวรับ : 1,854 1,837 1,821  แนวต้าน : 1,879 1,895 1,916

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 16.53 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตลอดทั้งวันราคาทองคำทรงตัวเหนือ 1,849 ดอลลาร์ต่อออนซ์ต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลัก 2 ประเด็น ได้แก่ (1.) แรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดในรัสเซีย แม้ว่ารัสเซียจะยืนยันว่าได้ถอนกำลังทหารบางส่วนออกจากพรมแดนยูเครนแล้ว แต่สหรัฐและนาโตกล่าวหาว่า รัสเซียยังคงเสริมกำลังทหารตามชายแดนยูเครน สอดคล้องกับความเห็นของรัฐมนตรีกลาโหมยูเครนที่กล่าวกับ Reuters ว่า ยังไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ที่รัสเซียได้ถอนกองกำลังของตนออกจากพรมแดนยูเครน และ (2.) ดัชนีดอลลาร์ อ่อนค่าลง 0.21% โดยได้รับแรงกดดันหลังธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 25-26 ม.ค. ที่แม้จะบ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่เฟดเห็นพ้องว่าควรมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ, ตลาดแรงงาน และการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี เฟดระบุว่าการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลเงินเฟ้อและข้อมูลอื่นๆในการประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้ตลาดตีความว่าเป็นไปในเชิง Hawkish น้อยกว่าคาด รวมถึง Hawkish น้อยกว่าความเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดบางราย ปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,872.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์แม้ว่าการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐส่วนใหญ่จะออกมา “ดีกว่าคาด” ก็ตาม ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตจากเฟดฟิลาเดลเฟีย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, การอนุญาตก่อสร้าง, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าเฟด

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังเฟดเผยรายงานประชุมดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (16 ก.พ.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) บ่งชี้ว่า เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงไปกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้ว  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.30% สู่ระดับ 95.6990  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.40 เยน จากระดับ 115.56 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9208 ฟรังก์ จากระดับ 0.9254 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2674 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2725 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1393 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1302 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3598 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3529 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7204 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7153 ดอลลาร์
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบเพียง 54.57 จุด ตลาดขานรับรายงานประชุมเฟดดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยในวันพุธ (16 ก.พ.) ขณะที่ดัชนี S&P500 ดีดตัวขึ้นในช่วงท้ายตลาด หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) บ่งชี้ว่า เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงไปกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้ว นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายยังได้รับแรงหนุนจากรายงานยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,934.27 จุด ลดลง 54.57 จุด หรือ -0.16%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,475.01 จุด เพิ่มขึ้น 3.94 จุด หรือ +0.09% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,124.10 จุด ลดลง 15.66 จุด หรือ -0.11%
  • (+) นาโตยันรัสเซียยังคงเสริมกำลังทหารตามชายแดนยูเครนองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) เปิดเผยในวันนี้ว่า รัสเซียยังคงเสริมกำลังทหารตามชายแดนยูเครน แม้มีรายงานว่ารัสเซียได้ถอนกำลังทหารบางส่วนจากบริเวณดังกล่าว  “เรายังไม่เห็นการถอนกำลังทหารของรัสเซีย ซึ่งสิ่งนี้ขัดแย้งกับความพยายามทางการทูตที่จะคลี่คลายวิกฤตการณ์ สิ่งที่เราเห็นก็คือพวกเขาได้เพิ่มจำนวนทหาร ซึ่งทำให้ความตึงเครียดยังไม่ได้ลดน้อยลง” นายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต กล่าว
  • (-) เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนม.ค.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนม.ค. หลังจากลดลง 0.1% ในเดือนธ.ค.  ทั้งนี้ ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวม เป็นการวัดการปรับตัวของภาคโรงงาน, เหมืองแร่ และสาธารณูปโภค
  • (-) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกพุ่งเกินคาดในเดือนม.ค.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 3.8% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 2.1% หลังจากดิ่งลง 2.5% ในเดือนธ.ค.  เมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 13% ในเดือนม.ค.  ยอดค้าปลีกที่พุ่งขึ้นในเดือนม.ค.ได้รับแรงหนุนจากการการเพิ่มขึ้นของยอดซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งทะยานขึ้น 14.5%  ส่วนยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร พุ่งขึ้น 4.8% ในเดือนม.ค. หลังจากดิ่งลง 4.0% ในเดือนธ.ค.
  • (+/-) สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านร่วงลงเป็นเดือนที่ 2 สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 1 จุด สู่ระดับ 82 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2  การร่วงลงของดัชนีความเชื่อมั่นมีสาเหตุจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน สต็อกบ้านในระดับต่ำ การพุ่งขึ้นของราคาบ้าน และต้นทุนในการก่อสร้าง
  • (+/-) สหรัฐเผยดัชนีราคานำเข้าพุ่งเกินคาดในเดือนม.ค.กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคานำเข้าดีดตัวขึ้นมากกว่าคาดในเดือนม.ค. โดยพุ่งขึ้น 2% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2554 หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนธ.ค.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 1.3% ในเดือนม.ค. 
  • (+/-) เฟดส่งสัญญาณอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อยังเพิ่มต่อเนื่องธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 25-26 ม.ค. โดยระบุว่า แม้กรรมการเฟดส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าควรมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ, ตลาดแรงงาน และการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ แต่การพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเงินเฟ้อและข้อมูลด้านอื่น ๆ ในการประชุมแต่ละครั้ง และเฟดจะกลับมาประเมินไทม์ไลน์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมแต่ละครั้งรายงานการประชุมบ่งชี้ว่า เฟดมีความพร้อมที่จะรับมือกับตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยกรรมการเฟดกล่าวว่า แม้เฟดคาดว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปีนี้ แต่เฟดก็พร้อมที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More