Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 14 มี.ค.65 by YLG

- Advertisement -

527

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,958-1,943

จุดทำกำไร     ขายเพื่อทำกำไร $1,998-2,009

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด$1,943

แนวรับ : 1,958 1,943 1,929  แนวต้าน : 1,998 2,009 2,026

สรุป

- Advertisement -

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 10.46 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองคำแกว่งตัวแคบในช่วงตลาดเอเชีย ก่อนที่ราคาทองคำจะปรับตัวลงแรงในทันที่ที่สื่อรายงานว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย กล่าวในการพบปะกับนายอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโกว่า “เขาเห็นความคืบหน้าในการเจรจากับยูเครน” สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ปลอดภัย ทั้งทองคำและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จนเป็นที่มาที่ทำให้ราคาทองคำร่วงลงแรงหลุดระดับต่ำสุดเดิมจนทดสอบระดับต่ำสุดที่ 1,958.95 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างการซื้อขายของวันศุกร์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคำฟื้นตัวลดช่วงติดลบในเวลาต่อมา โดยได้รับแรงหนุนจาก (1.)แรงซื้อ Buy the dip (2.) แรงซื้อกลับทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากสหรัฐและชาติตะวันตกยังคงเดินหน้าคว่ำบาตรรัสเซีย ล่าสุดสหรัฐประกาศถอดรัสเซียออกจากรายชื่อประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งทางการค้า (Most Favored Nation) หรือ MFN ส่วนสหภาพยุโรป (EU) กำลังเตรียมจะดำเนินการเพื่อระงับสิทธิ์ต่าง ๆ ของรัสเซียในฐานะสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (3.) การเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่ปรับตัวลงเกินคาดสู่ระดับ 59.7 ในเดือนมี.ค. นั่นทำให้ราคาทองคำฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในระหว่างวันปิดตลาดที่ 1,987.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือทองเพิ่ม +2.62 ตัน ขณะที่วันอาทิตย์ที่ผ่านมารัสเซียได้ยิงขีปนาวุธ 8 ลูกโจมตีฐานทัพยูเครนในเมืองยาโวริฟทางตะวันตกของยูเครน ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนโปแลนด์ที่เป็นหนึ่งในสมาชิกนาโตไม่ถึง 25 กม. แต่กระนั้น ทั้งรัสเซียและยูเครนยังคงเดินหน้าเจรจากันต่อไป โดยการเจรจารอบถัดไปมีกำหนดจะจัดขึ้นในวันจันทร์นี้ผ่านลิงก์วิดีโอ จึงแนะนำนักลงทุนติดตามผลลัพธ์ของการหารือกันอย่างใกล้ชิด สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) รัสเซียโจมตีทางอากาศฐานทัพยูเครนติดพรมแดนโปแลนด์รัสเซียเปิดฉากโจมตีทางอากาศฐานทัพยูเครน ในเมืองยาโวริฟทางตะวันตกของยูเครนใกล้ชายแดนโปแลนด์  “รัสเซียได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศศูนย์รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า มีการยิงขีปนาวุธไป 8 ลูก” แถลงการณ์ของคณะบริหารการทหารระดับภูมิภาคเมืองลวิวระบุ 
  • (+) อียูจ่อตัดสิทธิ์รัสเซียในฐานะสมาชิกไอเอ็มเอฟ-เวิลด์แบงก์นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยในวันศุกร์ (11 มี.ค.) ว่า สหภาพยุโรป (EU) กำลังเตรียมใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นรอบใหม่กับรัสเซียที่บุกโจมตียูเครน โดยระบุว่า EU จะดำเนินการเพื่อระงับสิทธิ์ต่าง ๆ ของรัสเซียในฐานะสมาชิกของสถาบันการเงินพหุภาคีชั้นนำซึ่งรวมถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก
  • (+) สหรัฐสั่งคว่ำบาตรบริษัท-บุคคลรัสเซียโทษฐานช่วยเกาหลีเหนือพัฒนาอาวุธกระทรวงการคลังสหรัฐประกาศคว่ำบาตรบริษัทรัสเซีย3 แห่งและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2 รายในวันศุกร์ (11 มี.ค.) เนื่องจากสนับสนุนโครงการพัฒนาอาวุธของเกาหลีเหนือ หลังจากเกาหลีเหนือทำการยิงทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ระบบใหม่
  • (+) สื่อแฉรัสเซียเป็นต้นเหตุทำให้การเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านสะดุดสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ในกรุงเวียนนาระหว่างอิหร่านและชาติมหาอำนาจประสบภาวะชะงักงัน หลังจากที่รัสเซียได้ยื่นข้อเรียกร้องที่ทำให้การเจรจาต้องถูกระงับไปโดยไม่มีกำหนด แม้ว่าก่อนหน้านี้กำลังใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว
  • (+) “ไบเดน” ถอดรัสเซียจากรายชื่อประเทศได้สิทธิพิเศษการค้า ตอบโต้บุกยูเครนประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศถอดรัสเซียออกจากรายชื่อประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งทางการค้า (Most Favored Nation) หรือ MFN เพื่อตอบโต้ต่อการที่รัสเซียส่งกำลังทหารโจมตียูเครน  สหภาพยูโรป (EU) และชาติอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือ G7 เตรียมใช้มาตรการดังกล่าวต่อรัสเซียเช่นกัน  การที่รัสเซียถูกถอดสถานะ MFN จะปูทางให้สหรัฐและพันธมิตรสามารถประกาศขึ้นภาษีต่อสินค้านำเข้าจากรัสเซีย ซึ่งจะทำให้รัสเซียถูกโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจมากขึ้น
  • (+) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำกว่าคาดในเดือนมี.ค.ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 59.7 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 62.8 ในเดือนก.พ.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 61.4 ในเดือนมี.ค.
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 229.88 จุด วิตกวิกฤตยูเครน-จับตาประชุมเฟดดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ (11 มี.ค.) โดยยังคงถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,944.19 จุด ลดลง 229.88 จุด หรือ -0.69%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,204.31 จุด ลดลง 55.21 จุด หรือ -1.30% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,843.81 จุด ลดลง 286.16 จุด หรือ -2.18%
  • (-) ดอลล์แข็งค่าจากแรงซื้อสกุลเงินปลอดภัยดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (11 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนได้พากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน  ดัชนีดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.62% แตะที่ 99.1230  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 117.34 เยน จากระดับ 116.08 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9347 ฟรังก์ จากระดับ 0.9301 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2726 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2759 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0910 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0991 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3037 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3099 ดอลลาร์
  • (-) “ปูติน” เผยมีสัญญาณบวกในการเจรจาสันติภาพกับยูเครนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย กล่าวในวันนี้ว่า เขาเห็นความคืบหน้าในการเจรจากับยูเครน  “เจ้าหน้าที่รัสเซียแจ้งผมว่าขณะนี้การเจรจาเริ่มมีสัญญาณบวก โดยการเจรจามีขึ้นแทบทุกวัน” ปธน.ปูตินกล่าวต่อประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ผู้นำเบลารุส
  • (+/-) “ไบเดน” ย้ำไม่รบในยูเครน คาดสงครามโลกครั้งที่ 3เกิดหากนาโตปะทะรัสเซียประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ (11 มี.ค.) ว่า การปะทะกันโดยตรงระหว่างนาโตและรัสเซียจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 และไบเดนยืนยันว่านาโตจะปกป้องดินแดนของตนทุกตารางนิ้ว แต่จะไม่ทำสงครามกับรัสเซียในยูเครน  ปธน.ไบเดนทวีตว่า นาโตจะไม่ทำสงครามกับรัสเซียในยูเครน เนื่องจากจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More