Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 13 ม.ค.65 by YLG

- Advertisement -

268

- Advertisement -

คำแนะนำ       เปิดสถานะซื้อ 1,814-1,810

จุดทำกำไร     ขายเพื่อทำกำไร $1,830-1,834

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,797

แนวรับ : 1,810 1,797 1,782  แนวต้าน : 1,834 1,849 1,863

สรุป  

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือนสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% แต่เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 7.0% ในเดือนธ.ค. ซึ่งแม้จะเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 1982 แต่ก็ถือว่าสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่  ตัวเลขเลขดังกล่าวสะท้อนว่าเงินเฟ้อของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปีซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดินหน้าแผนการคุมเข้มนโยบายการเงิน  แต่เงินเฟ้อก็ไม่ได้ร้อนแรงถึงขนาดที่จะเร่งให้เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในปีนี้เช่นกัน  ประกอบกับตลาดมี Price in การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไปพอสมควรแล้ว  นั่นทำให้ดัชนีดอลลาร์เผชิญกับแรงขาย  ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดที่ 94.907 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ 11 พ.ย. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงแตะระดับต่ำสุดที่ 1.7093%  จนเป็นปัจจัยหนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่ม  ปัจจัยที่กล่าวมาทำให้ราคาทองคำดีดตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,827.96 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และถ้อยแถลงของนางลาเอล เบรนาร์ดหนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟด  ต่อคณะกรรมการการธนาคารประจำวุฒิสภาของสหรัฐในกระบวนการพิจารณาแต่งตั้งนางเบรนาร์ดเป็นรองประธานเฟด

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) IMF เตือนขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อจะเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อจะยิ่งเพิ่มความอันตราย และตอกย้ำความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างชาติที่พัฒนาแล้วและชาติที่กำลังพัฒนา  “ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางแห่งอื่นๆ ต่างก็รู้ดีว่าจะจัดการกับเงินเฟ้ออย่างไร แต่สิ่งนี้จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อตลาดเกิดใหม่ และเพิ่มความเสี่ยงจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ” นางจอร์เจียวากล่าว 
  • (+) บอนด์ยีลด์สหรัฐร่วงหลุด 1.72% หลังเผยตัวเลขเงินเฟ้ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงหลุดระดับ 1.72% หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปี แต่สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของตลาด  ณ เวลา 21.24 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.718% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 2.057%
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังสหรัฐเผยเงินเฟ้อสอดคล้องคาดการณ์ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (12 ม.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และยอดค้าปลีก  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.74% แตะที่ 94.9201 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 114.40 เยน จากระดับ 115.36 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9135 ฟรังก์ จากระดับ 0.9237 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2501 ดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2581 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1448 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1366 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3711 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3627 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7290 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7208 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 38.30 จุด ขานรับเงินเฟ้อสอดคล้องคาดการณ์ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (12 ม.ค.) โดยได้แรงหนุนจากมุมมองที่ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดจะไม่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถูกกดดันให้เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาผลประกอบการไตรมาส 4/2564 ของธนาคารรายใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน และซิตี้กรุ๊ป  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,290.32 จุด เพิ่มขึ้น 38.30 จุด หรือ +0.11%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,726.35 จุด เพิ่มขึ้น 13.28 จุด หรือ +0.28% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,188.39 จุด เพิ่มขึ้น 34.94 จุด หรือ +0.23%
  • (-) บิตคอยน์พุ่งทะลุ $43,000 คาดเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อสอดคล้องคาดการณ์บิตคอยน์พุ่งทะลุระดับ 43,000 ดอลลาร์ในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของตลาด  ณ เวลา 00.26 น.ตามเวลาไทย บิตคอยน์พุ่งขึ้น 2.19% สู่ระดับ 43,731.30 ดอลลาร์ในการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Coinbase
  • (-) ซีอีโอแบงก์สวิสคาดบิตคอยน์พุ่งแตะ $75,000 ปีนี้นายกิโด บูห์เลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคาร Sebaจากสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า เขาเชื่อมั่นว่าบิตคอยน์จะพุ่งแตะระดับ 75,000 ดอลลาร์ในปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อของนักลงทุนสถาบัน  “เราเชื่อว่าราคาบิตคอยน์จะปรับตัวขึ้นต่อไป โดยแบบจำลองของเราบ่งชี้ว่าราคาจะดีดตัวแตะ 50,000-75,000 ดอลลาร์ ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าราคาจะไปถึงระดับดังกล่าว ปัญหาคือเมื่อไหร่เท่านั้น” นายบูห์เลอร์กล่าว  อย่างไรก็ดี นายบูห์เลอร์ย้ำว่าบิตคอยน์ยังคงมีความผันผวนสูง โดยได้ดิ่งลงหลุดระดับ 40,000 ดอลลาร์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากพุ่งทำสถิติสูงสุดเหนือระดับ 69,000 ดอลลาร์ในเดือนพ.ย.2564
  • (+/-) สหรัฐเผยดัชนี CPI พุ่ง 7.0% ในเดือนธ.ค. สูงสุดเกือบ 40 ปีกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 7.0% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2525 และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 6.8% ในเดือนพ.ย.  นอกจากนี้ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% จากระดับ 0.8% ในเดือนพ.ย.  ขณะเดียวกัน ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 5.5% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.4% จากระดับ 4.9% ในเดือนพ.ย.  นอกจากนี้ ดัชนี CPI พื้นฐานดีดตัวขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.5% จากระดับ 0.5% ในเดือนพ.ย.

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More