Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 11 ต.ค.64 by YLG

- Advertisement -

378

- Advertisement -

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรระยะสั้นเนื่องจากราคามีการแกว่งตัวผันผวน แนะนำเปิดสถานะขายในโซน 1,771-1,787 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หวังเข้าซื้อคืนหากราคาไม่หลุดแนวรับโซน 1,752-1,747  ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาหลุดแนวรับดังกล่าวให้ชะลอการซื้อคืนออกไป

แนวรับ : 1,747 1,735 1,721  แนวต้าน : 1,771 1,787 1,808

สรุป  

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง  ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนทั้งขึ้นแรงและลงแรง  โดยราคาทองคำพุ่งขึ้นแรงในทันทีที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 500,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ  93.939  ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงลงลงแตะระดับต่ำสุดที่ 1.558% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ  1,781.18 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำปรับตัวลงแรงในเวลาต่อมา  ส่วนหนึ่งจากแรงขายทำกำไร  อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากอัตราการว่างงานปรับตัวลดลงเกินคาดสู่ระดับ 4.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้น 0.6% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.4% ขณะเดียวกันได้มีการปรับ “เพิ่ม” ตัวเลขการจ้างงานในเดือนส.ค.ขึ้นเป็น 366,000 ตำแหน่ง  ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แย่เกินคาดในเดือนก.ย. “จะไม่กระทบต่อแผนการของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ในการประกาศลด QE อย่างเป็นทางการในการประชุมเดือนพ.ย.  ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้ฟื้นตัว  ขณะที่บอนด์ยีลด์ 10 ปีกลับมาทะยานขึ้นสู่ระดับ 1.615% จนกดดันราคาทองคำอย่างหนักในช่วงปลายตลาด  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.49 ตัน  สำหรับวันนี้ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเนื่องจากภาคธนาคารของสหรัฐจะปิดทำการ เนื่องในวัน Columbus Day อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทและตลาดทองคำยังคงเปิดซื้อขาย แต่ปริมาณการซื้อขายอาจเบาบางกว่าปกติ

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) โกลด์แมนแซคส์หั่นคาดการณ์ GDP สหรัฐปีนี้-ปีหน้า เหตุโควิดฉุดการใช้จ่ายผู้บริโภคชะลอตัวโกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐในปี 2564 ลงสู่ระดับ 5.6% จากระดับ 5.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี และปรับลด GDP ในปี 2565 ลงสู่ระดับ 4% จากระดับ 4.4% โดยระบุว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ และคาดว่ามาตรการสนับสนุนด้านการคลังของสหรัฐจะชะลอตัวลงจนถึงสิ้นปี 2565  ทีมนักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งรวมถึง แจน แฮทเซียส เปิดเผยในรายงานคาดการณ์ล่าสุดเมื่อวานนี้ (10 ต.ค.) ว่า การแพร่ระบาดที่ยาวนานของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจด้านการบริการผู้บริโภคในสหรัฐ ส่วนปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์นั้น คาดว่าจะยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายลงจนถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนประสบกับความล่าช้าในการเติมสต็อกสินค้าจนถึงปีหน้านักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ยังกล่าวด้วยว่า ในระยะกลางนี้ คาดว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งให้การใช้จ่ายด้านการบริการและการซื้อสินค้ายังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากภาคเอกชนปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการทำงานทางไกล ก็จะยิ่งทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวลงด้วย
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 8.69 จุด ผิดหวังตัวเลขจ้างงานต่ำกว่าคาดดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (8 ต.ค.) โดยถูกกดดันหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนก.ย. แต่นักลงทุนก็ยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ภายในปีนี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,746.25 จุด ลดลง 8.69 จุด หรือ -0.03%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,391.34 จุด ลดลง 8.42 จุด หรือ -0.19% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,579.54 จุด ลดลง 74.48 จุด หรือ -0.51%
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานต่ำกว่าคาดดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (8 ต.ค.) หลังจากการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.ของสหรัฐออกมาต่ำกว่าคาดทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.16% แตะที่ 94.0680 เมื่อคืนนี้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2459 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2553 ดอลลาร์แคนาดา และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9264 ฟรังก์ จากระดับ 0.9290 ฟรังก์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 112.19 เยน จากระดับ 111.62 เยนส่วนยูโรแข็งค่าที่ระดับ 1.1576 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1550 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าแตะที่ระดับ 1.3620 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3621 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7312 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7310 ดอลลาร์
  • (-) สหรัฐฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเกือบ 402 ล้านโดสศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า สหรัฐได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไปแล้ว 401,819,240 โดสนับจนถึงเมื่อวานนี้ (9 ต.ค.) โดยได้กระจายวัคซีนไปแล้ว 487,277,035 โดส  CDC เปิดเผยว่า สหรัฐมีผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสรวมกัน 216,889,814 ราย และมีผู้ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว 187,215,471 ราp  ส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มสามเพื่อกระตุ้นภูมินั้นมีประมาณ 7.8 ล้านรายทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวนับรวมการฉีดวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์/ไบออนเทค และโมเดอร์นา ซึ่งต้องฉีด 2 โดส และรวมถึงวัคซีนแบบโดสเดียวของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
  • (+/-) สหรัฐเผยจ้างงานวูบหนักเพิ่มเพียง 194,000 ตำแหน่ง จากคาดการณ์ 500,000กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 500,000 ตำแหน่ง หลังจากแตะระดับ 366,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 4.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1% จากระดับ 5.2% ในเดือนส.ค.กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 1,091,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 1,053,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนส.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 366,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 235,000 ตำแหน่ง กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่าในเดือนก.ย. ภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 317,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานลดลง 123,000 ตำแหน่งขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.6% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.4%  ทั้งนี้ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงนับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อส่วนตัวเลขอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของสหรัฐ ซึ่งแสดงสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมด อยู่ที่ระดับ 61.6%

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More