คำแนะนำ :
เปิดสถานะซื้อเมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงใกล้โซนแนวรับบริเวณ 1,801-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนได้ยังมีลุ้นที่ราคาอาจไปทดสอบแนวต้านโซนที่ 1,823-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคายืนไม่ได้อาจเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมาอีกครั้ง
แนวรับ : 1,796 1,775 1,751 แนวต้าน : 1,833 1,849 1,864
สรุป
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีดอลลาร์ที่ตอบรับการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ โดยราคาทองคำร่วงลงก่อนจากการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังผลสำรวจของ S&P CoreLogic Case-Shiller พบว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐพุ่งขึ้น 18.6% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการทะยานขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 1987 และเป็นผลให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1,801.85 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่ดัชนีดอลลาร์จะกลับมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว หลังการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาคการผลิตในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐปรับตัวลดลงเกินคาดสู่ระดับ 66.8 ในเดือนส.ค. ขณะที่ Conference Board เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 113.8 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. จากระดับ 125.1 ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 124.0 โดยได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวกดดันดัชนีดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ที่ 92.403 และปิดตลาดด้วยการอ่อนค่าลง -0.06% จนกระตุ้นแรงซื้อทองคำให้ทะยานขึ้นมาปิดตลาดในแดนบวกได้ในที่สุด ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.46 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมาร์กิตและ ISM ของสหรัฐ
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+)Conference Board เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐร่วงต่ำสุดรอบ 6 เดือนผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 113.8 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. จากระดับ 125.1 ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 124.0
- กระทรวงสถิติแห่งชาติอินเดียเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 20.1% ในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. ซึ่งเป็นไตรมาสแรกของปีงบประมาณของอินเดีย ตัวเลข GDP ดังกล่าวบ่งชี้ถึงการขยายตัวมากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มเก็บข้อมูลตัวเลข GDP นับตั้งแต่ปี 2539 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 20.0%
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (31 ส.ค.) หลังจาก Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.03% แตะที่ 92.6337 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9149 ฟรังก์ จากระดับ 0.9165 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.00 เยน จากระดับ 109.88 เยน และทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2607 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1812 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1803 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3757 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3767 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7318 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7297 ดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (31 ส.ค.) โดยถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งรวมถึงหุ้น Zoom Video Communications ที่ทรุดตัวลงกว่า 16% ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,360.73 จุด ลดลง 39.11 จุด หรือ -0.11% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,522.68 จุด ลดลง 6.11 จุด หรือ -0.13% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,259.24 จุด ลดลง 6.65 จุด หรือ -0.04%
- หอการค้าอเมริกันในเมืองเฉิงตูของจีนเปิดเผยว่า กระทรวงกิจการพลเรือน (MCA) ของจีนได้มีคำสั่งให้ทางหอการค้าฯยุติการทำงาน โดยออกประกาศถึงเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรระบุว่า เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลจีน ทางองค์กรมีความจำเป็นต้องหยุดดำเนินการในนามหอการค้าอเมริกันในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
- ผลสำรวจของเอสแอนด์พี คอร์โลจิก เคส ชิลเลอร์ ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐพุ่งขึ้น 18.6% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการทะยานขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2530 จากระดับ 16.8% ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ พุ่งขึ้น 19.1% ในเดือนมิ.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 17.1% ในเดือนพ.ค.
ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.