Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 6 พ.ค.64 (YLG)

- Advertisement -

408

- Advertisement -

คำแนะนำ :

เก็งกำไรระยะสั้นตามกรอบราคา เปิดสถานะซื้อหากสามารถราคาสามารถยืนเหนือ 1,771 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ให้ทยอยขายทำกำไรหากราคายังไม่ยืนเหนือโซน 1,799ดอลลาร์ต่อออนซ์หากผ่านได้ถือสถานะซื้อต่อ

แนวรับ : 1,771 1,756 1,741  แนวต้าน : 1,799 1,816 1,831

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.51 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ในระหว่างวันราคาทองคำจะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์จนส่งผลกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงไปทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1,770.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นหลังจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่วนใหญ่ออกมาแย่เกินคาด  อาทิ  การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐจากออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ที่เพิ่มขึ้นเพียง 742,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 800,000 ตำแหน่ง  ส่วน ISM เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 62.7 ในเดือนเม.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 64.3 เช่นกัน  สถานการณ์ดังกล่าวกดดันดัชนีดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงสู่ระดับ 91.264 หลังจากแตะระดับสูงสุดที่ 91.436 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย.จนเป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการฟื้นตัวของราคาทองคำ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +1.13 ตันสู่ระดับ 1,019.33 ตันหลังจากถือครองทองคงที่ตลอดครึ่งเดือนหลังของเดือนเม.ย.สะท้อนถึงกระแสเงินทุนไหลออกที่ชะลอตัว  สลับกับเริ่มมีกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่กองทุน ETF ทองคำเป็นระยะซึ่งถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่เริ่มเกิดขึ้น  สำหรับวันนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)คาดคงดอกเบี้ยตามเดิม  พร้อมกับติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  อาทิ  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วยเบื้องต้น และประสิทธิภาพต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเบื้องต้น

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ฝรั่งเศสเตรียมยุติคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยหากแผนฉีดวัคซีนโควิดคืบหน้าเร็วขึ้น  สำนักข่าวซินหัวรายงานการเปิดเผยของสถานีวิทยุ Europe 1 ว่า นายโอลิเวียร์ เวรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศส มีแผนการที่จะยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่กลางแจ้งในช่วงฤดูร้อนนี้ หากแผนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของฝรั่งเศสคืบหน้ายิ่งขึ้น  นายเวรองกล่าวว่า “หากมีประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มากพอแล้ว เราอาจจะสามารถผ่อนปรนมาตรการได้”
  • (+) สหรัฐเสนอขอความร่วมมือ G7 เพื่อต้านทานอิทธิพลจีน  สื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า กลุ่มประเทศ G7 กำลังพิจารณาข้อเสนอของสหรัฐเพื่อตอบโต้สิ่งที่ทำเนียบขาวมองว่าเป็นการบีบบังคับทางเศรษฐกิจของจีน  แหล่งข่าวระบุว่า มีเอกสารเผยแพร่ก่อนการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม G7 เป็นเวลา 2 วันที่กรุงลอนดอน โดยการประชุมของเจ้าหน้าที่ในวันอังคารนั้นใช้เวลาหารือกัน 90 นาทีเกี่ยวกับการที่จีนพยายามให้ประเทศและบุคคลต่างๆ ทำสิ่งที่ต้องการผ่านโครงการ Belt and Road initiative หรือด้วยการเพิ่มการคุกคามทางเศรษฐกิจ  นักการทูตรายหนึ่งกล่าวว่า สหรัฐต้องการกลไกการหารือที่เกี่ยวข้องกับ G7 รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจในความร่วมมือตอบโต้ความเคลื่อนไหวของจีนและเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นของกลุ่มประเทศ G7
  • (+) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐชะลอตัวในเดือนเม.ย.  สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 62.7 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 63.7 ในเดือนมี.ค.ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 64.3
  • (+) ADP เผยจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐพุ่ง 742,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย.  ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐพุ่งขึ้น 742,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 800,000 ตำแหน่ง
  • (+) CDC เตือนผู้ติดเชื้อโควิดในสหรัฐพุ่ง 2 เดือน เหตุสายพันธุ์อังกฤษระบาด  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) ออกรายงานระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐมีแนวโน้มพุ่งขึ้นอีกในช่วงนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7)  ทั้งนี้ CDC ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะพุ่งขึ้นตั้งแต่เดือนนี้ ก่อนที่จะลดลงในเดือนก.ค.  รายงานระบุว่า การที่หลายรัฐได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ รวมทั้งการระบาดของไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
  • (+) ดอลล์อ่อนค่าเล็กน้อย นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.25 เยน จากระดับ 109.30 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9135 ฟรังก์ จากระดับ 0.9136 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2278 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2310 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1999 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2010 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3906 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3889 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7744 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7704 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐพุ่งเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 64.7 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2552
  • (-) คาดศุกร์นี้สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่ง 1,000,000 ตำแหน่ง  นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในวันศุกร์นี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1,000,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.8%
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 97.31 จุด รับแรงซื้อหุ้นวัฏจักร  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกทำนิวไฮเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stocks) หรือหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มธนาคาร และกลุ่มพลังงาน ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดลบเนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีออกมาอย่างต่อเนื่อง  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,230.34 จุด เพิ่มขึ้น 97.31 จุด หรือ +0.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,167.59 จุด เพิ่มขึ้น 2.93 จุด หรือ +0.07% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,582.43 จุด ลดลง 51.07 จุด หรือ -0.37%

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More