สัปดาห์ที่แล้วทองคำลดลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 10 เดือน
สัปดาห์นี้ติดตามความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ
แนวโน้มราคาทองคำคาดฟื้นตัว แนวต้าน 1,760 ดอลลาร์
- สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับลดลงหลุด 1,800 ดอลลาร์ในช่วงกลางสัปดาห์หลังจากเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรส ได้แสดงมุมมองบวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้จะขยายตัว 6% โดยจีดีพีสหรัฐอาจจะกลับไปขึ้นแตะระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งวันศุกร์ราคาทองคำลดลงรุนแรงทำจุดต่ำสุดในรอบ 10 เดือน เนื่องจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเพิ่มขึ้น ส่วนกองทุน SPDRGold Trust ขายทองคำสูงถึง 34.11ตันในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- สัปดาห์นี้ติดตามความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ การเปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของเฟด 12 เขต (Beige Book) และการจ้างงานสหรัฐเดือนก.พ. สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอาจจะกลับมาเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ ส่วนการจ้างงานสหรัฐเดือนก.พ.จะทำให้ราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวน ถ้าตัวเลขจริงออกมาแตกต่างจากที่ตลาดคาดไว้มาก ซึ่งตลาดคาดการจ้างงานภาคเอกชน ADPและการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ. จะเพิ่มขึ้น 170,000 ตำแหน่ง และ 133,000 ตำแหน่ง ตามลำดับ
- แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดฟื้นตัว แต่ต้องระวังแรงเทขายเนื่องจากราคาทองคำทางด้านเทคนิคยังเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง ทองคำมีแนวต้านที่ 1,760 ดอลลาร์ และ 1,780 ดอลลาร์ขณะที่มีแนวรับที่ 1,717 ดอลลาร์ และ 1,700 ดอลลาร์
ราคาทองตลาดโลก
Close | chg. | Support | Resistance |
1,732.53 | -37.47 | 1,717/1,700 | 1,760/1,780 |
ราคาทองแท่ง 96.5%
Close | chg. | Support | Resistance |
25,100 | -250 | 24,800/24,600 | 25,250/25,550 |
โกลด์ฟิวเจอร์ส
Close | chg | Support | Resistance |
25,550 | -180 | 24,900/24,700 | 25,400/25,650 |
แนะนำเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวที่ราคาทอง Spot1,717ดอลลาร์ (GF 24,900 บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,700 ดอลลาร์(GF 24,700 บาท)
โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์
Close | chg | Support | Resistance |
1,773.50 | -19.00 | 1,719/1,702 | 1,762/1,782 |
แนะนำเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวที่ราคาGOH21 1,719 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,702 ดอลลาร์
ค่าเงิน
ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดจะอ่อนค่าลงโดยเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี
สำหรับ USD Futures เดือนมี.ค.64 คาดจะมีแนวรับที่ 30.30 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 30.50 บาท/ดอลลาร์ และ 30.60 บาท/ดอลลาร์
News
ตลาดการเงินต่างประเทศ:ดอลล์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลักตามบอนด์ยีลด์พุ่ง
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินปรับตัวขึ้น 0.82% สู่ระดับ 90.8690 เมื่อคืนนี้
ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ:ทองปิดร่วง 46.6 ดอลล์เหตุดอลล์แข็ง-บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 ก.พ.) โดยถูกกดดันจากการที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูงสัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 46.6 ดอลลาร์หรือ 2.62% ปิดที่ 1,728.8 ดอลลาร์/ออนซ์ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563 โดยในรอบสัปดาห์นี้สัญญาทองคำลดลงราว 2.7% และในเดือนก.พ. สัญญาทองคำร่วงลงราว 6.6% ซึ่งเป็นการร่วงลงรายเดือนรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2559 สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ร่วงลง 1.245 ดอลลาร์หรือ 4.57% ปิดที่ 26.44 ดอลลาร์/ออนซ์
ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ:น้ำมันWTI ปิดร่วง 2.03 ดอลล์เหตุดอลล์แข็งกระทบตลาด
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 ก.พ.) โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ซึ่งจะลดความน่าดึงดูดของสัญญาน้ำมันโดยทำให้สัญญาน้ำมันมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่นนอกจากนี้นักลงทุนยังขายสัญญาน้ำมันดิบออกมาจากความวิตกเกี่ยวกับการประชุมในสัปดาห์หน้าของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตรหรือโอเปกพลัสสัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 2.03 ดอลลาร์หรือ 2.3% ปิดที่ 61.50 ดอลลาร์/บาร์เรลแต่ปิดตลาดในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น 3.8% และปิดตลาดทั้งเดือนก.พ. เพิ่มขึ้นเกือบ 18% สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย.ซึ่งครบกำหนดส่งมอบแล้วลดลง 75 เซนต์หรือ 1.1% ปิดที่ 66.13 ดอลลาร์/บาร์เรลแต่ปิดตลาดในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น 5.1% และปิดตลาดในเดือนก.พ.เพิ่มขึ้นมากกว่า 18% ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค. ร่วงลง 1.69 ดอลลาร์หรือ 2.6% ปิดที่ 64.42 ดอลลาร์/บาร์เรล
ตลาดหุ้นต่างประเทศ:ดาวโจนส์ปิดร่วง 469.64 จุดวิตกเงินเฟ้อ-บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันตลาด
ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอีกกว่า 400 จุดเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐซึ่งปรับตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีแต่ดัชนีNasdaq ปรับตัวขึ้นสวนทางตลาดโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดีดตัวขึ้นหลังจากร่วงลงอย่างหนักก่อนหน้านี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,932.37 จุดลดลง 469.64 จุดหรือ -1.50%, ดัชนีS&P 500 ปิดที่ 3,811.15 จุดลดลง 18.19 จุดหรือ -0.48% และดัชนีNasdaq ปิดที่ 13,192.34 จุดเพิ่มขึ้น 72.91 จุดหรือ +0.56%
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.