Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 22 ก.พ.64 (YLG)

- Advertisement -

319

- Advertisement -

คำแนะนำ :

หากราคาไม่หลุด 1,775-1,760 ดอลลาร์ต่อออนซ์แนะนำเปิดสถานะซื้อ ทั้งนี้ควรติดตามการเคลื่อนไหวของราคาใกล้ชิด โดยหากราคาดีดตัวขึ้นจนสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันของวันพุธ ได้สามารถถือสถานะซื้อต่อเพื่อรอทำกำไรบริเวณแนวต้านถัดไป

แนวรับ : 1,775 1,760 1,747  แนวต้าน : 1,795 1,811 1,827

สรุป

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.82 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ในระหว่างวันแรงขายจะกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 เดือนบริเวณ 1,860 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นในเวลาต่อมา  จากแรงซื้อ  Buy the dip ขณะที่ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันศุกร์  โดยปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากนักลงทุนเปิดรับความเสี่ยง(Risk on) ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง  หลังการกระจายวัคซีนต้าน COVID-19 มีความคืบหน้า  จนกระตุ้นแรงซื้อสกุลเงินเสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าซึ่งบั่นทอนความต้องการสกุลเงินปลอดภัยอย่างดอลลาร์  แต่กระนั้น  การคาดการณ์เชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น  บวกรวมกับการกู้ยืมที่แนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจ  ไบเดน รวมไปถึงการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต  เป็นปัจจัยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ดีดตัวสู่ระดับ 1.36% ในวันศุกร์จนบั่นทอนความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ย  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ยังคงสกัดช่วงบวกราคาทองคำเอาไว้   ขณะที่กองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -5.25 ตันในวันศุกร์สู่ระดับ 1,127.64 ตัน ทำให้ในปี 2021 กองทุน SPDR  ถือครองทองลดลงแล้ว -43.10 ตันเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนเงินทุนไหลออกจากตลาดทองคำเช่นกัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจาก Conference Board

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) จีนจ่อแบนส่งออกเทคโนโลยีแร่หายาก หวังปกป้องความมั่นคงประเทศ  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า จีนอาจจะสั่งห้ามการส่งออกเทคโนโลยีการถลุงแร่หายากให้กับประเทศหรือบริษัทต่างๆ ที่จีนมองว่า อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของจีน โดยรัฐบาลจีนกำลังทำการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับแร่หายากอยู่ในขณะนี้  ทั้งนี้ แร่หายากนั้นมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น ชิปคอมพิวเตอร์ ชิปโทรศัพท์ แบตเตอรี่ แผ่นดีวีดี กล้องถ่ายรูป โทรทัศน์ เตาไมโครเวฟ อุปกรณ์ใยแก้วนำแสง เครื่องยนต์ของเครื่องบิน อุตสาหกรรมพลังงาน รวมถึงอาวุธต่างๆ แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อระบุว่า รัฐบาลจีนมองว่า เทคโนโลยีที่จำเป็นในการถลุงแร่หายากนั้นเป็นอาวุธที่มีพลังมากขึ้นในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และกำลังพิจารณาที่จะห้ามการขายเทคโนโลยีนั้นให้กับประเทศหรือบริษัทใดๆ
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า เหตุนลท.ขายเพื่อซื้อสกุลเงินอื่น  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนขายดอลลาร์ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย เพื่อเข้าซื้อสกุลเงินเสี่ยงอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.26% สู่ระดับ 90.3648 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.49 เยน จากระดับ 105.68 เยน และดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2619 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2681 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8967 ฟรังก์ จากระดับ 0.8964 ฟรังก์  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2114 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2085 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.4013 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3974 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7865 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7766 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐปรับตัวขึ้น กังวลเงินเฟ้อดีดตัว  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น  ณ เวลา 01.18 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 1.358% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.148%  ราคาพันธบัตร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน
  • (-) สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นในเดือนม.ค. สวนทางคาดการณ์  สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้น 0.6% สู่ระดับ 6.69 ล้านยูนิตในเดือนม.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 1.5% สู่ระดับ 6.61 ล้านยูนิต
  • (-) ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการสหรัฐสูงสุดรอบเกือบ 6 ปีในเดือนก.พ.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ดีดตัวสู่ระดับ 58.8 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 71 เดือน จากระดับ 58.7 ในเดือนม.ค.  ดัชนี PMI ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะขยายตัว ทั้งภาคการผลิตและบริการ
  • (-) “ไฟเซอร์” ยื่นข้อมูลใหม่ต่อ FDA ยันสามารถจัดเก็บวัคซีนในอุณหภูมิตู้เย็นทั่วไป  บริษัทไฟเซอร์ อิงค์ และ BioNTech SE แถลงในวันนี้ว่า บริษัททั้งสองได้ยื่นข้อมูลใหม่ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เพื่อแสดงให้เห็นว่าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งบริษัททั้งสองพัฒนาร่วมกัน สามารถจัดเก็บที่ระดับอุณหภูมิของภาชนะแช่แข็งที่ใช้จัดเก็บยา หรือตู้เย็นทั่วไป แทนที่จะต้องจัดเก็บในภาชนะพิเศษที่มีการควบคุมอุณหภูมิในระดับต่ำมาก  ปัจจุบัน ฉลากบนวัคซีนไฟเซอร์ระบุว่า วัคซีนจะต้องมีการจัดเก็บในอุณหภูมิ -80 C ถึง -60 C ซึ่งจะจัดเก็บได้นาน 6 เดือน ขณะที่อุณหภูมิระหว่างการขนส่งจะต้องอยู่ที่ -90 C ถึง -60 C ซึ่งจะอยู่ได้นาน 30 วัน  ข้อมูลใหม่ของไฟเซอร์ระบุว่า วัคซีนของบริษัทสามารถจัดเก็บในอุณหภูมิ -25 C ถึง -15 C ซึ่งจะจัดเก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดทรงตัว นลท.ซื้อหุ้นปรับตัวตามศก.-ขายหุ้นเทคโน  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทรงตัวเมื่อคืนนี้ (19 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ทะยานขึ้นในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเข้าซื้อหุ้นที่ปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งจะได้ประโยชน์จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทันทีที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ชะลอตัวลง  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,494.32 จุด เพิ่มขึ้น 0.98 จุด หรือ +0.0031%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,906.71 จุด ลดลง 7.26 จุด หรือ -0.19% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,874.46 จุด เพิ่มขึ้น 9.11 จุด หรือ +0.066%

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More