Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 7 ธ.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

384

- Advertisement -

คำแนะนำ :

หากยืนเหนือ 1,829-1,815 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้แนะนำเปิดสถานะซื้อ โดยหากราคาปรับตัวขึ้นก่อน ให้จับตาบริเวณ 1,847-1,864 ดอลลาร์ต่อออนซ์หากไม่ผ่านอาจทยอยแบ่งขายทำกำไรเพื่อรอราคาอ่อนตัวลง

แนวรับ : 1,829 1,815 1,798  แนวต้าน : 1,847 1,864 1,878

สรุป

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 2.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนหลังการเปิดเผยตัวเลขสำคัญในตลาดแรงงานของสหรัฐ  โดยราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,847.98 ดอลลาร์ต่อออนซ์  หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 245,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. “ต่ำกว่า” ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 440,000 ตำแหน่ง และต่ำกว่าระดับ 610,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค.  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  และเผชิญกับแรงขายทำกำไรในที่สุด  ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายรายการกลับออกมาดีเกินคาด  ไม่ว่าจะเป็นอัตราการว่างงานที่ลดลงสู่ระดับ 6.7% ในเดือนพ.ย., ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนต.ค.และคำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนต.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.8% สถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงเกือบ 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากกระดับสูงสุดในระหว่างวันลงมาแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,829.09 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แต่กระนั้น  การคาดการณ์ที่ว่าข้อมูลจ้างงานสหรัฐเพิ่มน้อยกว่าคาด จะเป็นตัวเร่งให้สภาคองเกรสของสหรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังรอบใหม่ในเร็วๆนี้  กลับช่วยกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของสกุลเงิน  ทำให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดบริเวณ 1,838.50  ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -7.12 ตันสู่ระดับ 1,182.70 ตัน แต่ในปี 2020 กองทุน SPDR ยังถือครองทองคำเพิ่ม +289.45 ตัน  สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังข้อมูลจ้างงานสหรัฐเพิ่มน้อยกว่าคาด  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ธ.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในเดือนพ.ย.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.01% แตะที่ 90.7090 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8904 ฟรังก์ จากระดับ 0.8914 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2781 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2855 ดอลลาร์แคนา แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.09 เยน จากระดับ 103.96 เยน  สกุลเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2136 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2141 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3442 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3449 ดอลลาร์
  • (+) แคลิฟอร์เนียเตรียมยกระดับมาตรการคุมโควิดหลังผู้ป่วยหนักเพิ่มเกินกำหนด  กระทรวงสาธารณสุขของรัฐแคลิฟอร์เนียเปิดเผยว่า บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนียจะเข้าสู่มาตรการให้ประชาชนอยู่ในบ้าน ตั้งแต่เวลา 23.59 น. ของวันอาทิตย์นี้ตามเวลาท้องถิ่น และจะมีผลต่อเนื่องอย่างน้อย 3 สัปดาห์ เนื่องจากความสามารถในการรองรับผู้ป่วยหนักในหลายพื้นที่เหลือไม่ถึง 15% ท่ามกลางผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น  แถลงการณ์ระบุ จากข้อมูลผู้ป่วยหนักล่าสุด เคาน์ตี 11 แห่งในทางใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งรวมถึงลอสแอนเจลิส และซาน โจควิน วัลเล่ย์ในตอนกลางของแคลิฟอร์เนีย มีปริมาณเตียงผู้ป่วยหนักเหลือไม่ถึง 15%
  • (+) ปธ.สภาผู้แทนฯสหรัฐชี้คองเกรสต้องเร่งออกมาตรการกระตุ้นศก. หลังจ้างงานวูบ  นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวว่า ตัวเลขการจ้างงานที่ซบเซาซึ่งมีการเปิดเผยในวันนี้ เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่าสภาคองเกรสจำเป็นต้องเร่งพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  นางเพโลซีระบุว่า ตัวเลขจ้างงานดังกล่าวเป็นเหตุให้สภาคองเกรสต้องรีบดำเนินการ
  • (+) ผู้นำอังกฤษ-EU สั่งเดินหน้าเจรจาการค้าต่อ แม้ยังเห็นต่างกันในบางประเด็น  นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษและนางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยว่า จะมีการเปิดประชุมการเจรจาการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป (EU) ใหม่อีกครั้งที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยี่ยมในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น แม้จะยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันในบางประเด็นสำคัญ  แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังนางฟอน เดอร์ เลเยนและนายจอห์นสัน ได้หารือกันทางโทรศัพท์เมื่อวานนี้ เนื่องจากผู้นำการเจรจาของทั้งสองฝ่ายหยุดการเจรจาชั่วคราวจากความเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นหลักบางข้อ
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 248.74 จุด รับความหวังสหรัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นศก.  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมีความหวังว่าสหรัฐจะเร่งออกมาตรการเยียวยารอบใหม่ในเร็วๆ นี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐมีการขยายตัวในอัตราต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,218.26 จุด เพิ่มขึ้น 248.74 จุด หรือ +0.83%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,699.12จุด เพิ่มขึ้น 32.40 จุด หรือ +0.88% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,464.23 จุด เพิ่มขึ้น 87.05 จุด หรือ +0.7%
  • (-) สหรัฐเผยคำสั่งซื้อภาคโรงงานสูงกว่าคาดในเดือนต.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนต.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.8% หลังจากพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนก.ย.
  • (-) สหรัฐเผยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนต.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนต.ค. โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.7% สู่ระดับ 6.31 หมื่นล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.48 หมื่นล้านดอลลาร์ จากระดับ 6.21 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย.
  • (+/-) สหรัฐเผยจ้างงานนอกภาคเกษตรวูบในเดือนพ.ย.จากพิษโควิด  กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 245,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 440,000 ตำแหน่ง และต่ำกว่าระดับ 610,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 6.7% ในเดือนพ.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากแตะระดับ 6.9% ในเดือนต.ค.  ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว  ทั้งนี้ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงนับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More