ความต้องการทองคำของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ได้เปลี่ยนโฉมตลาดทองคำไปอย่างสิ้นเชิง
หลังจากปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ได้มีปริมาณสำรองทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 1,136 ตัน และความต้องการทองคำยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ (2566)
ตามรายงานล่าสุดจาก World Gold Council พบว่า ธนาคารกลางของสิงคโปร์ได้ซื้อทองคำเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ทำให้ปริมาณสำรอง เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 6.8 ตัน
โดย WGC ตั้งข้อสังเกตว่า ปีนี้สิงคโปร์มีปริมาณสำรองทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยอยู่ที่ 205 ตัน ณ สิ้นเดือน มากกว่าปีที่แล้วซึ่งอนู่ที่ 51 ตัน
Krishan Gopaul senior European, Middle East, and Asian markets analyst ของ World Gold Council ระบุว่าธนาคารกลางยังคงซื้อทองคำและกระจายความเสี่ยงออกจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ Robert Minter director of ETF Investment Strategy กล่าวกับ Kitco News ว่า
ความต้องการของธนาคารกลางเป็นเหตุผลสำคัญที่นักลงทุนจำเป็นต้องให้น้ำหนักทองคำมากขึ้น ซึ่งธนาคารกลางจะไม่หยุดซื้อทองคำในเร็ว ๆ นี้ พร้อมระบุว่า ทองคำจะเป็นผู้ชนะในโลกของสกุลเงินหลายขั้ว
ทั้งนี้ ทองและซิลเวอร์ มีโมเมนตั้มที่ดี หลังกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ได้ยกเลิกการสถานะที่เป็นขาลงมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์คนอื่น ๆ ได้กล่าวว่า แนวโน้มการกระจายความเสี่ยงจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และไปสู่ทองคำ มีเหตุผลมากกว่านั้น
โดย Paul Wong market strategist ของ Sprott กล่าวว่า
การที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แข็งค่าขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 21 ปี ได้สร้างปัญหาเงินเฟ้ออย่างมากสำหรับสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งการมีสินทรัพย์สำรองที่มีความยืดหยุ่นมาก เป็นสิ่งจำเป็นในโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ และมีเพียงทองคำเท่านั้น ที่เป็นสินทรัพย์สามารถเติมเต็มบทบาทนั้นได้
นอกจากนั้น การที่ธนาคารกลางกำลังซื้อทองคำจำนวนมาก และเนื่องจากมีอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และทองคำเป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เป็นสกุลเงินได้ ไม่ว่าระบบธนาคารกลางของคุณจะเป็นแบบตะวันตก หรือนำโดยประเทศจีน
อ้างอิง : Kitco.com
Comments are closed.