Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

ทองคำได้แรงหนุนจากเงินเฟ้อ จับตา FED ไม่ง่ายที่จะขึ้นดอกเบี้ย เพราะเพดานหนี้สูง

- Advertisement -

435

- Advertisement -

มาดูปัจจัยเสี่ยง หรือ ปัจจัยหนุน ที่จะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ

เรื่องแรก คือ ความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ซึ่งมองว่าเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำ ทั้งนี้ ทองคำถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ยังคงถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยนักลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ สะท้อนจากข้อมูลของ World Gold Council ที่บ่งชี้ว่า ผลตอบแทนของทองคำสูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงอย่างมาก

ดังนั้น หากพิจารณาจากสถิติในอดีตจะพบว่า การถือครองทองคำจะสามารถเพิ่มพูนกำลังซื้อในระยะยาวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่มูลค่าที่แท้จริงของสกุลเงินหลักลดต่ำลงจากอัตราเงินเฟ้อ

แม้ในช่วงที่ผ่านมาราคาทองคำจะตอบสนองต่อการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ ตลาดมองว่าเฟดอาจตอบสนองการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ และนักลงทุนบางส่วนมองว่า มีสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถป้องกันเงินเฟ้อได้ดีกว่าทองคำ โดยเฉพาะสกุลเงินดิจิทัลหรือบิตคอยน์

- Advertisement -

อย่างไรก็ดี ด้วยราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง และเสถียรภาพด้านราคาทองคำ บิตคอยน์ซึ่งเป็นสินทรัพย์คู่แข่งของทองคำ รวมไปถึงประสิทธิภาพของทองคำที่ถูกพิสูจน์ด้วยผลตอบแทนในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟดยังคงส่งสัญญาณไม่รีบเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ปัจจัยนี้ กลับมาเป็นปัจจัยกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด แต่หากแนวโน้มดังกล่าวดำเนินต่อไป เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ในปี 2022

เรื่องต่อมา ก็ยังเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำ ก็คือ หนี้สาธารณะที่ทะยานขึ้นจากออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังของสหรัฐ

โดยในปี 2563 รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเยียวยาชาวอเมริกัน และภาคธุรกิจจากผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 มาแล้ว

และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผลักดันราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา นั่นเท่ากับว่า มีเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มาจากนโยบายการเงินและนโยบายการคลังแล้วอย่างน้อย ๆ กว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์

- Advertisement -

ต่อมาในช่วงต้นปี 2564 รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชื่อว่า “American Rescue Plan” วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มเติม

ไม่เพียงแค่นั้น ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยังพยายามผลักดันมาตรการสร้างงานและช่วยเหลือครัวเรือนในสหรัฐฯ รอบใหม่ ที่มีวงเงินรวมอีกหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19

ทั้งนี้ การขาดดุลของรัฐบาลกลางเพิ่มสูงขึ้นจากการใช้จ่ายของรัฐบาล ทำให้สัดส่วน “หนี้สาธารณะต่อ GDP” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากตัวเลขของ usdebtclock.org พบว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะในสหรัฐฯ ต่อ GDP อยู่ที่ 125.93% เมื่อเทียบกับ GDP ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี 2020 ซึ่งอยู่ราว 107% และเพิ่มขึ้นจากระดับ 56% ในปี 2000

ขณะที่ ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น จากการอัดฉีดเงินในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับ “เงินเฟ้อ” ในอนาคต พร้อมกันนี้ เงินธนบัตร หรือ เงินกระดาษ (Fiat Currency) อย่างดอลลาร์ อาจมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกด้วย ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนราคาทองคำ

ที่สำคัญ ผลจากภาวะหนี้ในระดับสูง ยังเป็นแรงหนุนต่อราคาทองคำ เพราะจะทำให้ เฟดจำเป็นต้องรักษาระดับของอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ เพื่อลดภาระต่อรัฐบาลในการจ่ายคืนดอกเบี้ย หนุนราคาทองคำ

นอกจากนั้น ทำให้พันธบัตรสหรัฐฯ มีความเสี่ยง Default สูงขึ้น ความน่าดึงดูดใจลดลง ที่สำคัญ คือ เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจในปริมาณอาจกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในประเทศ จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าลดลง

ขอขอบคุณ : YLG

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More