17-7-20
เน้นการเก็งกำไรจากการแกว่งตัว หากราคาทองคำยังคงพยายามยืนเหนือโซนแนวรับบริเวณ 1,789-1,786 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้จะทำให้ราคายังคงมีโอกาสขยับขึ้นเพื่อทดสอบกรอบราคาด้านบนโซน 1,808-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ : 1,786 1,773 1,763 แนวต้าน : 1,808 1,818 1,831
สรุปราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 15.05 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับปัจจัยกดดันหลักมาจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐ ล่าสุด Reuters เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 รายใหม่ในสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างน้อย 70,727 รายในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง นอกจากนี้นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากแหล่งข่าวเผยว่า คณะบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ กำลังพิจารณาคว่ำบาตรการเดินทางมายังสหรัฐของสมาชิกทั้งหมดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและครอบครัว ปัจจัยที่กล่าวมาก่อให้เกิดกระแสเงินทุนไหลเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยแทนที่จะเป็นทองคำ ประกอบกับสกุลเงินยูโรอ่อนค่าหลังจากธนาคารกลางยุโรป(ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย พร้อมคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ตามเดิม จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หนุนสกุลเงินดอลลาร์เพิ่มเติม อีกทั้งตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายรายการต่างออกมาดีเกินคาด อาทิ ยอดค้าปลีก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน และดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติกจากเฟดฟิลาเดลเฟีย ปัจจัยที่กล่าวมาสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำจนส่งผลให้ราคาร่วงลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการอนุญาตก่อสร้าง, ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภค จาก UoM รวมถึงติดตามการประชุมของผู้นำ 27 ชาติสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ หากมีการ “อนุมัติ” จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูวงเงิน 7.5 แสนล้านยูโร (8.517 แสนล้านดอลลาร์)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซนให้ฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตการณ์ COVID-19 จากประเทศสมาชิก อาจช่วยหนุนสกุลเงินยูโร ซึ่งมักจะส่งผลเชิงบวกต่อราคาทองคำ
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 135.39 จุด ผิดหวังข้อมูลแรงงานสหรัฐ,หุ้นเทคโนฯร่วง ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) หลังสหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงเกินคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทจดทะเบียนบางแห่ง และข้อพิพาทระหว่างสหรัฐและจีนที่ยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายลง ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,734.71 จุด ลดลง 135.39 จุด หรือ -0.50% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,215.57 จุด ลดลง 10.99 จุด หรือ -0.34% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,473.83 จุด ลดลง 76.66 จุด หรือ -0.73%
- (+) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจำนวน 1.3 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.25 ล้านราย
- (+) สหรัฐเล็งเป้าแบนการเดินทางของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งหมด แหล่งข่าวระบุเมื่อวานนี้ว่า คณะบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกำลังพิจารณาคว่ำบาตรการเดินทางมายังสหรัฐของสมาชิกทั้งหมดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและครอบครัว ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนที่ตึงเครียดอยู่แล้วย่ำแย่ลง แหล่งข่าวระบุว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่กำลังหารือประเด็นดังกล่าวเริ่มเวียนร่างคำสั่งประธานาธิบดี แต่การพิจารณาอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังไม่มีการส่งประเด็นดังกล่าวไปยังปธน.ทรัมป์
- (-) เฟดฟิลาเดลเฟียเผยดัชนีภาวะธุรกิจมิด-แอตแลนติกสูงกว่าคาดในเดือนก.ค. เฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ลดลงสู่ระดับ 24.1 ในเดือนก.ค. หลังจากพุ่งแตะระดับ 27.5 ในเดือนมิ.ย. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 20.0
- (-) สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านพุ่งแตะระดับก่อนโควิดระบาด สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านพุ่งขึ้น 14 จุด สู่ระดับ 72 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับเดียวกับในเดือนมี.ค. ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
- (-) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกเพิ่มมากกว่าคาดในเดือนมิ.ย. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 7.5% ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.0% ก่อนหน้านี้ ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 18.2% ในเดือนพ.ค. ทำสถิติทะยานขึ้นมากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวบรวมตัวเลขดังกล่าวในปี 2535 ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค หลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์
- (-) ยูโรอ่อนเทียบดอลล์ หลัง ECB คงดอกเบี้ย,วงเงินซื้อพันธบัตร สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยและวงเงินซื้อพันธบัตรในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.27% สู่ระดับ 96.3457 เมื่อคืนนี้ ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1378 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1405 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2546 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2580 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6967 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6998 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 107.37 เยน จากระดับ 106.95 เยน
- (-) J&J เตรียมทดลองวัคซีนต้านโควิด-19 ในมนุษย์สัปดาห์หน้า บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เปิดเผยว่า บริษัทจะเริ่มทำการทดลองวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 เฟสแรกในมนุษย์ในสัปดาห์หน้า โดยจะทำการทดลองกับอาสาสมัครมากกว่า 1,000 ราย ขณะเดียวกัน บริษัทวางแผนที่จะทำการทดลองวัคซีนในเฟส 2 ในเนเธอร์แลนด์ สเปน และเยอรมนี นอกจากนี้ ทางบริษัทคาดหวังว่าจะสามารถทำการทดลองวัคซีนเฟสสุดท้ายในมนุษย์ในช่วงปลายเดือนก.ย. ซึ่งเร็วกว่าที่กำหนดไว้
- (+/-) ECB มีมติคงดอกเบี้ย,วงเงินซื้อพันธบัตรในการประชุมวันนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและวงเงินในการซื้อพันธบัตรในการประชุมวันนี้ ขณะที่ ECB ยังคงจับตาเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ECB จัดการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ โดยที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ ECB มีมติคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ที่ระดับ 1.35 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการดังกล่าวจนถึง
ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)