Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

ทองคำมีแนวโน้มกลับตัวทดสอบแนวต้าน $1,790 (YLG)

- Advertisement -

0 738

- Advertisement -

7-7-20

คำแนะนำ :

หากราคาสามารถยืนเหนือ 1,771-1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ให้เสี่ยงเปิดสถานะซื้อทำกำไรระยะสั้น โดยตัดขาดทุนหากหลุดโซน 1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพื่อรอขายในโซนแนวต้าน 1,790-1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,766 1,755 1,747 แนวต้าน : 1,790 1,803 1,817

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  11.63  ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากปัจจัยต่างๆ  อาทิ  การแข็งค่าของสกุลเงินยูโร  หลังยอดค้าปลีกของยูโรโซนพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันสกุลเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าจนหนุนราคาทองคำ  และแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  หลังจากยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่และจำนวนผู้รักษาตัวด้วย COVID-19 ในโรงพยาบาลในหลายๆรัฐของสหรัฐทะยานขึ้นต่อเนื่อง  สถานการณ์ดังกล่าวผลักดันให้ราคาทองคำทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,787 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างวัน  แม้มีบางจังหวะที่ราคาทองคำร่วงลงบ้าง  หลังจากการเปิดเผยดัชนีภาคบริการของสหรัฐจากมาร์กิต และ ISM ที่ต่างออกมาดีเกินคาด  แต่แรงขายทองคำยังไม่มาก  พร้อมกับมีแรงซื้อสลับเข้ามาซึ่งดันให้ราคาทองคำขยับขึ้นอีกครั้ง  ทั้งนี้  นักลงทุนเข้าซื้อทองคำไปพร้อมๆกับสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นสหรัฐ  เนื่องจากยังวิตกเกี่ยวกับเส้นทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  รวมถึงยังไม่มั่นใจว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นได้มากน้อย และยาวนานเพียงใด  ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้แก่เศรษฐกิจ  สถานการณ์ที่กล่าวมาทำให้นักลงทุนเดินหน้าซื้อทองคำไปพร้อมๆกับหุ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในตลาด  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการสำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจาก IBD/TIPP  และตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (JOLTS Job Openings)   รวมไปถึงถ้อยแถลงของนายแรนดัล คาร์ลส์ รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) 

จจัยทางเทคนิค :

หากราคามีแรงขายทำกำไรระยะสั้นสลับออกมาไม่มากพอจนกดดันให้ราคาหลุดบริเวณ 1,771-1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ราคามีแนวโน้มจะกลับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านด้านบนโซน 1,790 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี )หากผ่านได้ราคามีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อทดสอบแนวต้านถัดไปโซน 1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ระดับสูงสุดเดือนพ.ย. 2011 )

กลยุทธ์การลงทุน :

พิจารณาเปิดสถานะซื้อเพื่อทำกำไรจากการดีดตัวหากราคาอ่อนตัวลงในโซน 1,771-1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนหากราคาหลุด 1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่หากราคากลับขึ้นไปยืนเหนือ 1,790 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือซื้อต่อเพื่อรอไปขายที่แนวต้านถัดไปโซน 1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ไมอามีระงับการเปิดร้านอาหารขณะยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในสหรัฐทะลุ 130,000 คน  เมืองไมอามีและบริเวณใกล้เคียงในรัฐฟลอริดากลายเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดหนักของโควิด-19 ระงับแผนการกลับมาเปิดธุรกิจอีกครั้ง สั่งให้ร้านอาหารแบบนั่งรับประทานในร้านทุกแห่งปิดเมื่อวานนี้  รัฐแคลิฟอร์เนีย สั่งปิดร้านร้านอาหารและบาร์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อจำกัดโควิด-19 ใน หลังตัวเลขการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ทะยานขึ้น 50% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา  รัฐเท็กซัสมีจำนวนผู้รักษาตัวด้วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลที่ระดับสูงสุดตลอดกาลติดต่อกัน 8 วัน ซึ่งมีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นกว่า 500 คน จากวันก่อนหน้า สู่เกือบ 8,700 คน
  • (+) ยูโรแข็งเทียบดอลล์ ขานรับยอดค้าปลีกยูโรโซนพุ่งเกินคาด สกุลเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลารสหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ก.ค.) ขานรับรายงานยอดค้าปลีกของยูโรโซนที่พุ่งขึ้นแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนพ.ค. หลังจากรัฐบาลในหลายประเทศของยุโรปเริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1314 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1244 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2498 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2476 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6975 ดอลลาร์ จากระดับ 0.6942 ดอลลาร์  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 107.28 เยน จากระดับ 107.47 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9413 ฟรังก์ จากระดับ 0.9448 ฟรังก์ แต่หากเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3541 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3553 ดอลลาร์แคนาดา  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.46% สู่ระดับ 96.7291 เมื่อคืนนี้
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐดีดตัวแข็งแกร่งแตะ 57.1 ในเดือนมิ.ย. หลังคลายล็อกดาวน์  ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 57.1 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 45.4 ในเดือนพ.ค. โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการที่หลายรัฐเริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากที่ต้องล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • (-) มาร์กิตเผยดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะ 47.9 ในเดือนมิ.ย.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 47.9 จากระดับ 37.5 ในเดือนพ.ค. และสูงกว่าตัวเลขขั้นต้นเดือนมิ.ย.ซึ่งอยู่ที่ 46.7
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 459.67 จุด รับภาคบริการแข็งแกร่ง,ตลาดหุ้นจีนดีดแรง  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากดัชนีภาคบริการของสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนมิ.ย. นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยบวกจากดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนที่ทะยานขึ้นกว่า 5% เมื่อวานนี้ ท่ามกลางมุมมองบวกที่ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,287.03 จุด พุ่งขึ้น 459.67 จุด หรือ +1.78% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,179.72 จุด เพิ่มขึ้น 49.71 จุด หรือ +1.59% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,433.65 จุด เพิ่มขึ้น 226.02 จุด หรือ +2.21%
  • (+/-) นักเศรษฐศาสตร์ชี้ ศก.จีนเริ่มขยายตัวในไตรมาส 2 หลังกระทบหนักจากโควิดระบาด  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักเศรษฐศาสตร์จีนหลายรายต่างมีมุมมองแง่ดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน โดยพวกเขาชี้ว่าเศรษฐกิจของจีนจะกลับเข้าสู่การเติบโตเชิงบวกในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวระลอกใหม่หลังผ่านพ้นการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด-19  นายหลี่ เฉา นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทเจ้อซาง ซีเคียวริตีส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทหลักทรัพย์ของจีน คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีนจะเริ่มขยายตัวในไตรมาส 2 และจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าร้อยละ 6 ในไตรมาส 3 และ 4 หลังจากที่หดตัวลงในไตรมาสแรก  นายหลี่ระบุว่า ในแง่ของอุปทาน การทำงานและการผลิตเริ่มกลับมาดำเนินการในเบื้องต้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ดังจะเห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ขยายตัวเหนือเส้นแบ่งภาวะการหดตัว-ขยายตัว 4 เดือนติดต่อกัน ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมก็กำลังฟื้นตัว  นอกจากนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจยังจะได้แรงหนุนจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังฟื้นตัว รวมถึงภาคการบริโภคและการส่งออกที่เริ่มเข้าสู่ภาวะอุ่นเครื่อง  อย่างไรก็ตาม นายหลี่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า จีนไม่ได้กำหนดเป้าหมายพิเศษของการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี 2563 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าจะไม่มีการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่  นายหลี่เสริมว่า รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะประสานนโยบายการเงินและการคลัง เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านการจ้างงานและรับรองมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ ขณะเดียวกันก็จะเข้าไปสนับสนุนโครงการสำคัญๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางให้ก้าวผ่านความยากลำบาก และนำพาประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน 

ขอขอบคุณ บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Leave A Reply

Your email address will not be published.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More