จากบทความที่น่าสนใจของ ShiningGold ระบุว่า
หากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2002 หลัง Dot Com Crisis ทองคำเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในแง่สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง
ในปีเดียวกัน “จีน” ถือว่าเป็นประเทศที่ซื้อทองคำมากที่สุดเกือบ 100 ตัน เรียกได้ว่าเป็นจุด start สำคัญสำหรับ cycle ขาขึ้นของทองคำเรื่อยมาก็ว่าได้
อาจเป็นเพราะ โลกได้เผชิญกับแรงสั่นสะเทือนที่เขย่าเศรษฐกิจมานับครั้งไม่ถ้วน เช่น The Great Depression ในช่วงปี ค.ศ.1930 หายนะทางเศรษฐกิจที่แผ่วงกว้าง กินระยะเวลานานถึง 10 ปี ได้ฝังเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
เริ่มจาก “Black Tuesday” ในช่วงปี 1929-1932 ทำให้ GDP ทั่วโลกลดลงกว่า 15% ยอดการซื้อขายระหว่างประเทศลดลงกว่า 50% อัตราการว่างงานในสหรัฐพุ่งสูงถึง 23%
ว่างเว้นจากนั้นไม่นาน ในปี ค.ศ.1956 ก็เกิด The Suez Crisis หรือสงครามอิสราเอล-อาหรับ ครั้งที่ 2 ยังไม่ถึง 20 ปีดี ก็เกิด First&Second oil Shock ในปี ค.ศ.1973 แม้กระทั่งไทยเองก็เคยเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตที่รู้จักในชื่อของ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” 1997 รวมถึงประเทศที่ชอบสะสมทองคำปริมาณมากอย่างรัสเซีย ก็หนีไม่พ้นเคยเกิดวิกฤตมาแล้วในชื่อ The Russia Crisis ปี 1998
จึงไม่แปลกใจเลยที่หลัง ค.ศ.2000 ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก จึงหันมาให้ความสนใจสะสมทองคำเป็น reserve ของประเทศมากขึ้น ทองคำถูกสะกิดให้ทะลุกรอบ sideway ที่จำกัดแนวต้านต่ำกว่า 400 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ มาโดยตลอด
จนค่อย ๆ ยกฐานขึ้นเรื่อยมา ในปี ค.ศ.2009 หลัง Hamburgers Crisis ประเทศจีนได้นำร่องสะสมทองคำเพิ่มมากที่สุด 454 ตัน จากยอดสะสมของธนาคารกลางทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น 2,685 ตัน ก็ได้เป็นแรงส่งให้ราคาทองคำเลี้ยงตัวขึ้นเรื่อยมาจนทำ New High ทีระดับ 1,920 ดอลลาร์ ในปี ค.ศ.2011
ก่อนจะค่อย ๆ ทยอยพักฐานลงมาทำ low ช่วง 1,300-1,047 ดอลลาร์ ในปี ค.ศ.2015 ที่ทางเทคนิคมักมองกันว่าเป็น bottom ของ cup pattern ซึ่งขณะนั้น หลายฝ่ายคงกำลังถกเถียงกันอยู่ว่า จะเป็นไปได้หรือที่ทองคำจะต่ำกว่าต้นทุนหน้าเหมืองโดยเฉลี่ยที่ 1,000 ดอลลาร์
ช่วงเวลานั้น จีนตัดสินใจเข้าซื้ออีกครั้ง แต่คราวนี้สะสมทองคำไปมากถึง 708 ตัน จากทั้งหมด 2,928 ตัน หากลองมาเทียบกับราคาในปัจจุบัน ที่สามารถแตะ high ระดับ 2,075 ดอลลาร์ ได้ ก็ถือว่าราคาที่จีนสะสมได้ตอนนั้นก็ถูกมากเลยทีเดียว
สำหรับผู้เขียนเอง เชื่อว่าในปีนี้และปีหน้า ทองคำยังเป็นปีเทรนด์ขาขึ้นเช่นเดิม เพียงแต่รอบการขึ้นก็ย่อมมีรอบการพักฐานสลับกันไปกันมาตามแรง take profit หรือ cycle ของเศรษฐกิจ
แต่ตราบใดที่ยังมีการแก่งแย่งเป็น number 1 ของโลก ก็ย่อมมีแรงกระแทรกจากความไม่ลงรอยส่งผ่านมายังการค้าระหว่าง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ จนนำสู่ภาวะเงินเฟ้อ หรือ crisis ต่าง ๆ ไม่จบสิ้น ทองคำก็ยังคงเป็น Safe Heaven ที่ดีและมีโอกาสทำ สถิติสูงสุดใหม่ได้เรื่อย ๆ ในรูปของคลื่น
ดังนั้น การให้น้ำหนัก หรือความสนใจต่อธนาคารกลางที่ตื่นทองอย่างจีน ที่ถือว่ามีเศรษฐกิจใหญ่เบอร์ 2 ของโลก ก็ยังเป็น Indicators ที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับนักลงทุนระยะยาวได้เช่นกัน
ที่มา : ShiningGold
Comments are closed.