Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

ข่าววัคซีน ป้องกัน COVID-19 คงไม่จบแค่นี้..ราคาทองคำยังต้องเจออีกหลายขนาน

- Advertisement -

533

- Advertisement -

เดือนพฤศจิกายนผ่านพ้นไปแค่ 17 วัน ราคาทองคำถูกกระชาลงมาอย่างหนักด้วยข่าวความคืบหน้าการทดลองวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา 2 สัปดาห์ติดต่อกัน

เริ่มจากข่าวความคืบหน้าวัคซีนของ Pfizer Inc ที่ร่วมกับ BioNTech เมื่อช่วงต้นเดือน พ.ย. ฉุดราคาทองคำร่วงเกือบ 100 ดอลลาร์ และล่าสุดเมื่อวานนี้  Moderna Inc ก็ประกาศความสำเร็จในการทดลองวัคซีน ป้องกัน COVID-19ของตัวเองเช่นกัน โดยระบุว่าคืบหน้ากว่า และดีกว่าวัคซีน ป้องกัน COVID-19 ของ Pfizer Inc ด้วยซ้ำทันทีที่ประกาศข่าวดังกล่าวออกมา ได้ฉุดราคาทองคำร่วงทันที 30 ดอลลาร์

แต่ครั้งนี้ราคาทองคำได้ดีดกลับมายืนที่ระดับ 1,895 ดอลลาร์อย่างรวดเร็ว ต่างจากในช่วงสัปดาห์ของ Pfizer Inc ที่กว่าที่ราคาจะกลับมายืน 1,895 ดอลลาร์ ต้องรอถึงช่วงปลายสัปดาห์ อันนี้คือหนึ่งจุดที่อยากจะตั้งข้อสังเกตไว้

อย่างไรก็ดี คาดว่าข่าวความคืบหน้าการผลิตวัคซีน ป้องกัน COVID-19 จะมีตามมาอีกหลายบริษัท หลายประเทศ และหลายขนาน วันนี้ขออนุญาตหยิบยกนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่เขียนโดย ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หน.ศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และถูกเผยแพร่ในหนาเพจ “มานพ พิทักษ์ภากร” มาแบ่งปันกัน

- Advertisement -

โควิดมาลองคาดการณ์ timeline ของ COVID vaccine และ scenario ที่น่าจะเป็นไปได้ต่อจากนี้กัน

ในตอนนี้โลกมี COVID vaccine ต้นแบบใน stage ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นราว 140 ชนิด เป็น vaccine ที่เข้าถึงรอบสุดท้าย Phase 3 แล้ว 11 ชนิด มีการประกาศผล interim ออกมาเป็นข่าวดีแล้ว 2 ชนิดคือ Pfizer x BioNTech และ Moderna

วัคซีนที่เหลือในรอบสุดท้าย ตัวที่น่าจะรายงานผลตามกันมาคือ Oxford x AstraZeneca และ Johnson & Johnson ซึ่งน่าจะเห็นกันราวสิ้นปีหรือมกราคมปีหน้า

ทั้งสองตัวเป็น adenoviral vector ของ Oxford เป็น Ad5 จากลิงชิมแปนซี ส่วน J&J เป็น human Ad26

ข้อดีของวัคซีนสองตัวนี้คือ Oxford x AstraZeneca มีความตกลงกับ Siam Bioscience แล้ว เราอาจได้ใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศ

- Advertisement -

ส่วน J&J ข้อดีคือฉีดเข็มเดียวพอ ต่างจากชนิดอื่นที่ต้องฉีดสองเข็ม

ตัวถัดมาที่น่าสนใจคือ Novavax เป็นวัคซีนตัวแรกที่ใช้ spike protein ของเชื้อมาทำวัคซีนเลย ไม่ต้องใช้ mRNA หรือ viral vector ให้ยุ่งยาก จัดเก็บง่ายกว่า ที่สำคัญคือผลข้างเคียงน้อยมาก น้อยกว่าวัคซีนตัวอื่นมาก แต่เนื่องจากเพิ่งเริ่ม phase 3 เมื่อกันยายน/ตุลาคมใน UK และเริ่มใน US เมื่อต้นเดือนนี้เอง เลยอาจต้องรอผลซักสิ้นปี (จาก UK) หรือต้นปีหน้า (จาก US)

วัคซีนของ Medicago x GSK นี่น่าสนใจคือ Medicago สนับสนุนโดย Philip Morris เจ้าพ่อบุหรี่โลก ใช้เทคนิคการผลิตโปรตีนไวรัสจากใบยาสูบ แล้วเอามาทำวัคซีน คล้ายทีมอาจารย์จุฬา แต่ของเขาได้ของดีคือ adjuvant จาก GSK ที่กระตุ้นภูมิได้ดีมาก และตอนนี้เริ่ม phase 3 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง น่าจะได้ยินผลการวิจัยต้นปีหน้า

อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นพูดถึงวัคซีนจากรัสเซีย หรือจีนเลย จริง ๆ มีอีก 5 ตัวคือ จีน 4 (Sinovac, Sinopharm x2, CanSino) และรัสเซีย 1 (Gamaleya Sputnik V) ครับ แต่จนป่านนี้ไม่เห็นมีใครรายงานผล phase 3 กันซักราย มีแต่การประกาศใช้ไปแล้วโครม ๆ

Sputnik V เพิ่งบอกว่าเริ่ม phase 3 ไปไม่นานนี้เอง

ส่วน Sinovac, Sinopharm เคยบอกว่าทำ phase 3 ในประเทศแถบแอฟริกา อเมริกาใต้ และตะวันออกกลางในช่วงไล่เลี่ยกับวัคซีนของประเทศตะวันตก จนป่านนี้ควรจะได้เห็นผล interim บ้างแต่ก็ไม่ประกาศอะไรออกมา ชวนให้สงสัยว่าทำไปไกลแค่ไหนกันแน่

“In god we trust, All others must bring data” นะครับ

ปีหน้าจะเป็นอย่างไร?

ผมเดาว่าสมรภูมิ COVID vaccine จะเปลี่ยนจากการเร่งพัฒนาและทำ clinical trials มาเป็นการเร่งผลิตและขาย เพราะตอนนี้วัคซีนในรอบสุดท้ายนี้ ส่วนใหญ่มี back เป็นบริษัทยาขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งมีความได้เปรียบในการ scale up การผลิตเหนือบริษัททั่ว ๆ ไป แต่ละเจ้าคาดการณ์ว่าสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึงระดับ 500-1,000 ล้าน doses ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ปีหน้าเราควรจะเห็นการผลิต COVID vaccine รวมออกมาได้ไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 ล้าน doses

ข้อดีคือ

เราจะเห็นการกระจายของวัคซีนเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกว่าในอดีตมาก และวัคซีนนี้จะมีราคาไม่แพง (ราว ๆ พันกว่าบาทต่อสองเข็ม) ซึ่งทำให้โรคระบาดหยุดได้ในเวลาไม่นาน

ข้อเสีย

ก็หนีไม่พ้นผลกระทบจากระบบตลาดเสรี บริษัทที่พัฒนาวัคซีนต้นแบบช้าเกินไป จะไม่ได้ไปต่อ ซึ่งน่าจะเกิดกับวัคซีนต้นแบบจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4) ที่กว่าจะเริ่ม phase 3 ได้ โรคระบาดนี้อาจจะหยุดไปเรียบร้อย เลยไม่มีเคสผู้ป่วยให้ทดสอบ หรือไม่มีเงินทุนสนับสนุนอีกต่อไป เพราะ COVID vaccine ไม่ใช่ priority อีกแล้ว รวมถึงภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะ supply เข้าสู่ตลาดอย่างมาก และเพียงพอกับ demand จนราคาถูกลง รายใหญ่จะมี economy of scale มาก ทำให้รายใหม่ รายเล็กไม่คุ้มค่าต่อการพัฒนา COVID vaccine ต่ออีก

นี่แหละครับ ระบบ free market คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More