ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ หรือ NFP ได้ร่วงหนักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยตัวเลขเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 500,000 ตำแหน่ง หลังจากที่เดือนสิงหาคมได้เพิ่มขึ้นเพียง 366,000 ตำแหน่ง
ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนกันยายนปรับตัวลงสู่ระดับ 4.8% ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1% ขณะที่เดือนสิงหาคม อยู่ที่ 5.2%
อย่างไรก็ดีได้มีการปรับปรับตัวเลข NFP เดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นเป็น 366,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 235,000 ตำแหน่ง
นอกจากนั้นมีรายงานว่าในเดือนกันยายน ภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 317,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานลดลง 123,000 ตำแหน่ง
ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.6% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.4% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ ขณะที่ตัวเลขอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของสหรัฐ ซึ่งแสดงสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมด อยู่ที่ระดับ 61.6%
หลังจากที่ตัวเลข NFP ร่วง 2 เดือนติดต่อกัน ทำให้เกิดคำถามในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ว่าทางธนาคารสหรัฐจะมีการปรับเปลี่ยนแปลงแผนการลดการซื้อพันธบัตรรายเดือน (QE) ก่อนสิ้นปีหรือไม่ รวมถึงจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นอีกหรือไม่ เนื่องจากเรื่องการจ้างงานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ เฟดใช้พิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน
ทั้งนี้ Katherine Judge, senior economist at CIBC ให้ความเห็นกับ Kitco news ว่า Fed ยังคงมีแนวโน้มที่จะลดการซื้อพันธบัตรรายเดือนลง โดยอาจจะมีการประกาศในการประชุม FOMC เดือนพ.ย. เนื่องจากได้แรงหนุนจากภาคเอกชน
เช่นเดียวกับ Andrew Hunter, Senior U.S. economist at Capital Economics,กล่าวว่ารายงานการจ้างงานในเดือนกันยายนน่าจะดีเพียงพอ ที่เฟดจะเริ่มลดการซื้อพันธบัตรก่อนสิ้นปี แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะรับประกันการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังเตือนว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะกินเวลายาวนานกว่าที่ธนาคารกลางคาดการณ์ไว้มาก
ขณะเดียวกันมีสัญญาณบ่งชี้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวอย่างรวดเร็ว ในโดยเฉพาะเรื่องการขาดแคลนแรงงานที่ดูเหมือนจะเลวร้ายลง ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่เฟดในช่วงถัดๆไป
ขณะที่ นักวิเคราะห์ของ TD Securities ระบุว่าจากตัวเลขแรงงานที่ยังลดลง ได้ส่งผลดีต่อราคาทองคำ และมีเหตุผลที่มากพอที่จะถือครองทองคำต่อไป เนื่องจากจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับการตัดสินใจของเฟด ในการประชุมครั้งต่อไป
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของวิกฤตพลังงานที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้ไน ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าทั่วโลกและห่วงโซ่อุปทานทั่วยุโรปและเอเชีย ซึ่งทองคำจะเข้ามาทำหน้าที่ของมันในฐานะเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.