Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

วิเคราะห์ราคาทองคำ 28 มิ.ย.64(YLG)

- Advertisement -

451

- Advertisement -

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรในกรอบ 1,761-1,795 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยเปิดสถานะซื้อในโซน 1,764-1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,761 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

แนวรับ : 1,761 1,749 1,733  แนวต้าน : 1,795 1,812 1,826

สรุป

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ช่วงบ่ายตามเวลาไทย  โดยได้รับแรงหนุนหลังจาก GfK เผยดัชนีคาดการณ์ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีสำหรับเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ -0.3 และดีกว่าที่นักวิเคราะห์ระบุว่าจะอยู่ที่ -3.9 ก่อนที่ราคาทองคำจะพุ่งขึ้นแรง  หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนี Core PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้นเพียง 0.5% เมื่อเทียบรายเดือนในเดือนพ.ค. ถือว่าต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.6% สถานการณ์ดังกล่าวช่วยคลายความวิตกของบรรดานักลงทุนที่กังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วกว่าคาด  ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันดัชนีดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวัน  จนส่งผลหนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 1,790.07 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำเผชิญแรงขายทำกำไรในเวลาต่อมา  ขณะที่เมื่อเทียบรายปีพบว่า ดัชนี Core Pce พุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 หรือสูงสุดในรอบเกือบ 30 ปี  ทำให้นักลงทุนยังคงไม่แน่ใจว่าเฟดจะเร่งถอนมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสกัดเงินเฟ้อหรือไม่  นั่นทำให้เกิดแรงซื้อกลับในดัชนีดอลลาร์จนเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกของราคาทองคำ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  แต่แนะนำติดตามถ้อยแถลงของนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดนิวยอร์ก

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวในเดือนมิ.ย.  ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวสู่ระดับ 85.5 ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าระดับ 82.9 ในเดือนพ.ค. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 86.5
  • (+) สหรัฐเผยการใช้จ่ายส่วนบุคคลต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐทรงตัว หรือเพิ่มขึ้น 0% ในเดือนพ.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากพุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนเม.ย.  นอกจากนี้ รายได้ส่วนบุคคลลดลง 2% ในเดือนพ.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 2.7%
  • (+) สหรัฐเผยดัชนี PCE พุ่งสูงสุดรอบเกือบ 30 ปีในเดือนพ.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ พุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 หรือสูงสุดในรอบเกือบ 30 ปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์  เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.6%
  • (+) สหรัฐเผยอัตราฉีดวัคซีนโควิดในประเทศเฉลี่ย 7 วันลดกว่า 55%  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐระบุว่า จำนวนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เฉลี่ยในช่วง 7 วันที่ผ่านมาลดลง 55.3% จากสัปดาห์ก่อนหน้า  รายงานระบุว่า ณ วันที่ 24 มิ.ย. มีจำนวนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ประมาณ 3.7 แสนโดส  ข้อมูลจาก CDC ชี้ให้เห็นว่า ณ วันเสาร์ที่ 26 มิ.ย. มีพลเมืองสหรัฐประมาณ 45.8% ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบโดสแล้ว และมี 53.9% ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส
  • (+) จนท.ออสซี่เตือนโควิดสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดได้รวดเร็วภายใน 5-10 วินาที  เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขของออสเตรเลียเตือนว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาซึ่งพบครั้งแรกในประเทศอินเดียนั้น สามารถแพร่ระบาดได้ภายในเวลาเพียง 5-10 วินาทีเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแพร่ระบาดในคนทุกช่วงอายุ ซึ่งรวมถึงเด็ก  ดร.จีนเน็ตต์ ยัง หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขของรัฐควีนส์แลนด์เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขพบกรณีการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของไวรัสสายพันธุ์เดลตา โดยมีรายหนึ่งติดเชื้อโควิด-19 เพียงแค่เดินผ่านคนแปลกหน้าที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ในขณะจับจ่ายซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า Westfield Bondi Junction
  • (-) ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้น ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อสหรัฐขยายตัว  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงข้อมูลเงินเฟ้อที่ขยายตัว  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.04% แตะที่ 91.8522 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.82 เยน จากระดับ 110.85 เยน, อ่อนค่าเมื่อเทียกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9176 ฟรังก์ จากระดับ 0.9183 ฟรังก์ และอ่อนค่าแตะที่ระดับ 1.2306 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2322 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1931 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าสู่ระดับ 1.3875 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3927 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7584 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7582 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 237.02 จุด หุ้นไนกี้-หุ้นแบงก์หนุนตลาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) และดัชนี S&P 500 ปิดตลาดสัปดาห์นี้ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นไนกี้และหุ้นธนาคารหลายแห่ง ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐที่ต่ำกว่าคาดได้ช่วยคลายความวิตกของบรรดานักลงทุนที่กังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วกว่าคาด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,433.84 จุด เพิ่มขึ้น 237.02 จุด หรือ +0.69%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,280.70 จุด เพิ่มขึ้น 14.21 จุด หรือ +0.33% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,360.39 จุด ลดลง 9.32 จุด หรือ -0.06%
  • (-) อดีตขุนคลังคาดเงินเฟ้อสหรัฐจ่อแตะ 5% สิ้นปีนี้ มองบอนด์ยีลด์ปรับตัวขาขึ้น  นายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะปรับตัวเข้าใกล้ระดับ 5% ในช่วงสิ้นปีนี้ และคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้  นายซัมเมอร์สเปิดเผยกับเดวิด เวสตินในรายการ “Wall Street Week” ของบลูมเบิร์ก เทเลวิชันว่า “ผมคาดว่า ณ สิ้นปีนี้ อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ใกล้ระดับ 5%”

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More