คำแนะนำ เปิดสถานะซื้อ 1,900-1,892
จุดทำกำไร ขายทำกำไร $1,928-1,935
ตัดขาดทุน ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,870
แนวรับ : 1,892 1,870 1,853 แนวต้าน : 1,935 1,958 1,975
สรุป
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 14.24 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ระหว่างวันราคาทอคำจะฟื้นตัวขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,921.18 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ดำเนินต่อไปตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ดี ราคาทองคำอ่อนตัวลงหลังจากนายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า รัสเซียพร้อมส่งตัวแทนไปยังกรุงมินสก์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเบลารุส เพื่อเจรจากับทางการยูเครน สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนจนกระตุ้นแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยง นั่นทำให้ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันศุกร์โดยปรับตัวขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์วันเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2020 พร้อมกับกระตุ้นแรงขายสินทรัพย์ปลอดภัยในวงกว้าง โดยแรงขายบางส่วนเกิดขึ้นในตลาดทองคำโดยตรง ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยถูกเทขายออกมาเช่นกัน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.0123% จนเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่มเติม ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -2.32 ตัน ส่งผลให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,882.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี เช้านี้ในตลาดเอเชีย ราคาทองคำเปิดพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,928.82 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้ง หลังสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐและชาติพันธมิตรตะวันตกเห็นพ้องตัดธนาคารของรัสเซียบางแห่งออกจาก SWIFT ส่วนประธานาธิบดีปูติน สั่งการกองกำลังด้านอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในสถานะ “ตื่นตัวอย่างสูง” สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI เขตชิคาโก
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) ดอลล์อ่อนค่าจากแรงขาย หลังนลท.คลายกังวลวิกฤตยูเครนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (25 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนขายดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย หลังคลายวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ขณะที่รัสเซียส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะเจรจากับยูเครน ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.54% สู่ระดับ 96.6160ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.59 เยน จากระดับ 115.63 เยน และดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2713 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2814 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9263 ฟรังก์ จากระดับ 0.9257 ฟรังก์ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1266 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1189 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าแตะที่ระดับ 1.3410 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3387 ดอลลาร์
- (+) สหรัฐสั่งคว่ำบาตร “ปูติน” พร้อมจนท.ระดับสูงของรัสเซียหลังบุกยูเครนกระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรในวันศุกร์ (25 ก.พ.) ต่อประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียได้แก่ นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ, นายเซอร์เก ชอยกู รมว.กลาโหม และนายวาเลรี เจราซิมอฟ เสนาธิการทั่วไป เพื่อตอบโต้กรณีที่รัสเซียบุกโจมตียูเครน
- (+) ผู้นำยูเครนลั่นไม่ขอเจรจาสงบศึกกับรัสเซียในเบลารุส นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เปิดเผยในวันนี้ว่า คณะผู้แทนรัสเซียที่จะเข้าร่วมการเจรจาเพื่อสันติภาพกับยูเครนได้เดินทางมาถึงเมืองกอเมลของเบลารุสแล้ว ซึ่งถือเป็นการปูทางสู่การเจรจาครั้งแรกหลังจากที่รัสเซียบุกโจมตียูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา
- (+) สหรัฐและชาติตะวันตกเห็นพ้องตัดธนาคารรัสเซียออกจากระบบ SWIFTสหรัฐพร้อมด้วยชาติพันธมิตรแห่งโลกตะวันตก เห็นพ้องกันที่จะตัดธนาคารรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT ซึ่งเป็นตัวกลางสำหรับการโอนเงินข้ามประเทศ ซึ่งจะทำให้รัสเซียได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างหนัก สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ชาติพันธมิตรตะวันตก ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป (EU) ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร แคนาดา และสหรัฐ ร่วมกันออกแถลงการณ์วานนี้ (26 ก.พ.) ว่า “การดำเนินการเหล่านี้จะเป็นการสร้างหลักประกันว่า ธนาคารรัสเซียจะถูกตัดออกจากระบบการเงินสากล ส่งผลให้ไม่สามารถทำธุรกรรมในระดับโลกได้”
- (+) สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายร่วงเป็นเดือนที่ 3 ในม.ค.สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ดิ่งลง 5.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 109.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2564 และปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้น 1% ในเดือนม.ค.
- (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 834.92 จุด ตลาดคลายวิตกวิกฤตยูเครน ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันศุกร์ (25 ก.พ.) โดยปรับตัวขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์วันเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 และตลาดฟื้นตัวขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันหลังจากดิ่งลงอย่างหนักเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานข่าวที่ว่ารัสเซียส่งสัญญาณพร้อมเจรจากับยูเครน ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 34,058.75 จุด พุ่งขึ้น 834.92 จุด หรือ +2.51%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,384.65 จุด พุ่งขึ้น 95.95 จุด หรือ +2.24% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,694.62 จุด พุ่งขึ้น 221.04 จุด หรือ +1.64%
- (-) ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลงในเดือนก.พ.ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 62.8 ในเดือนก.พ. จากระดับ 67.2 ในเดือนม.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 61.7 นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 61.7 ในเดือนก.พ.
- (-) สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนม.ค.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนธ.ค. ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนม.ค.ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อเครื่องบิน ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และสินค้าด้านอาวุธ โดยเป็นสิ่งบ่งชี้แผนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ พุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค.
- (+/-) สหรัฐเผยเงินเฟ้อพุ่ง 5.2% ในเดือนม.ค. สูงสุดรอบเกือบ 40ปีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ พุ่งขึ้น 5.2% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2526 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1%
ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.