Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 7 พ.ค.64 (YLG)

- Advertisement -

411

- Advertisement -

คำแนะนำ :

เข้าซื้อจังหวะการอ่อนตัวลงของราคาใกล้โซน 1,805-1,799 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ ราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,837 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายออกไป

แนวรับ : 1,799 1,782 1,765  แนวต้าน : 1,837 1,854 1,871

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดทะยานขึ้น 28.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนหลักมาจากดัชนีดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง 0.34% สู่ระดับ 90.896 หลังสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดสหรัฐพุ่งขึ้นแรงจนบั่นทอนความต้องการดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย  นอกจากนี้  ในระหว่างวัน  ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการดีดตัวของเงินปอนด์  หลังธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการขยายตัว 7.25% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 5%พร้อมปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE รายสัปดาห์  ประกอบกับดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงกดดันทางเทคนิค  หลังจากร่วงลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะ 50, 100 และ 200 วันอีกด้วย  สถานการณ์ดังกล่าวหนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นทะลุผ่านแนวต้านสำคัญบริเวณ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ซึ่งถือเป็นโซนแนวต้านจิตวิทยาและเป็นระดับสูงสุดที่ราคาทองคำพยายามทดสอบหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา  นั่นช่วยกระตุ้นแรงซื้อทางเทคนิคทั้งแรงซื้อตาม(Buy Stop)รวมถึงแรงซื้อคืนเพื่อปิดสถานะขาย(Short Covering)จนเป็นปัจจัยผลักดันราคาทองคำให้ทะยานขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,817.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ว่าวานนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอย่างตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน  และประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐจะออกมาดีเกินคาดก็ตาม  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยตัวเลขสำคัญในตลาดแรงงานของสหรัฐประจำเดือนเม.ย.  ได้แก่  ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงาน  และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง  ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาทองคำมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ผันผวนได้

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อน หลังนักลงทุนปรับลดคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ย  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) หลังจากนักลงทุนลดคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลบ 0.40% สู่ระดับ 90.9523  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.04 เยน จากระดับ 109.25 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9087 ฟรังก์ จากระดับ 0.9135 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2184 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2278 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2055 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1999 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ 1.3884 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3906 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 0.7772 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7744 ดอลลาร์
  • (+) แบงก์ชาติอังกฤษปรับเพิ่มจีดีพีปีนี้พุ่ง 7.25% หลังคืบหน้าฉีดวัคซีนโควิด  ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการขยายตัว 7.25% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 5% ขณะที่ได้แรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจ หลังมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้าง  นอกจากนี้ BoE ระบุว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะมีการขยายตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิดในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เร็วกว่าเดิมที่คาดไว้ในไตรมาสแรกของปีหน้า  อย่างไรก็ดี BoE ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวในปีหน้าสู่ระดับ 5.75% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 7.25%
  • (+) ดัชนีราคาอาหารโลกเดือนเม.ย. ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี  องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานในวันนี้ว่า ราคาอาหารทั่วโลกในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เมื่อเดือนพ.ค. 2557 นำโดยน้ำตาล  FAO ระบุว่า ดัชนีรวมของราคาอาหารในเดือนเม.ย. เฉลี่ยอยู่ที่ 120.9 จุด เมื่อเทียบกับระดับหลังปรับทวนแล้วในเดือนมี.ค. ซึ่งอยู่ที่ 118.9 จุด ขณะที่ตัวเลขเดือนมี.ค.ก่อนปรับทวนอยู่ที่ 118.5 จุด
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ 498,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2563  นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 540,000 ราย และต่ำกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 590,000 ราย
  • (-) รัสเซียเปิดตัววัคซีนโควิด “Sputnik Light” เข็มเดียวเอาอยู่!  รัสเซียให้การอนุมัติการใช้วัคซีน Sputnik Light ในวันนี้ โดยระบุว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโควิด-19 ในการฉีดเพียงเข็มเดียว ซึ่งแตกต่างจาก Sputnik V ซึ่งต้องมีการฉีด 2 เข็ม  ทั้งนี้ RDIF ซึ่งเป็นกองทุนบริหารความมั่งคั่งของรัสเซีย และให้การสนับสนุนการผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 แถลงว่า Sputnik Light มีประสิทธิภาพ 79.4% ในการป้องกันไวรัสโควิด-19 และมีราคาไม่ถึง 10 ดอลลาร์ต่อ 1 โดส โดยสามารถจัดเก็บในภาชนะมาตรฐาน และทำการขนส่งเช่นเดียวกับวัคซีนอื่นๆ
  • (-) สหรัฐเผยประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในไตรมาส 1  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.4% ในไตรมาส 1/2564 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.3%
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 318.19 จุด ทำนิวไฮ ขานรับข้อมูลแรงงานสดใส  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันนี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,548.53 จุด เพิ่มขึ้น 318.19 จุด หรือ +0.93% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,201.62 จุด เพิ่มขึ้น 34.03 จุด หรือ +0.82% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,632.84 จุด เพิ่มขึ้น 50.42 จุด หรือ +0.37%
  • (+/-) แบงก์ชาติอังกฤษคงดอกเบี้ยตามคาด ส่งสัญญาณลดวงเงิน QE  ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เปิดเผยผลการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 8.95 แสนล้านปอนด์ (1.2 ล้านล้านดอลลาร์) ตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้  อย่างไรก็ดี BoE ส่งสัญญาณปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE โดยระบุว่าทางธนาคารจะลดวงเงิน QE สู่ระดับ 3.4 พันล้านปอนด์/สัปดาห์ระหว่างเดือนพ.ค.-ส.ค. จากปัจจุบันที่ระดับ 4.4 พันล้านปอนด์/สัปดาห์ 


โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More