Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 16 เม.ย.64 (YLG)

- Advertisement -

431

- Advertisement -

คำแนะนำ :

หากราคาทองคำสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,753-1,748 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างแข็งแกร่ง สามารถรอขายทำกำไรบางส่วนหากไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,783 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าฝ่าไปได้ให้รอขายบริเวณแนวต้านถัดไป

แนวรับ : 1,748 1,734 1,717 แนวต้าน : 1,783 1,800 1,816

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดทะยานขึ้น  27.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ  ได้แก่  (1.) ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและรัสเซีย  หลังจากวานนี้สหรัฐประกาศคว่ำบาตรรัสเซียหลายรูปแบบ อาทิ ขึ้นบัญชีดำบุคคลและหน่วยงาน 32 รายการ, ขับไล่นักการทูตรัสเซีย และห้ามธนาคารของสหรัฐทำการซื้อขายตราสารหนี้ของรัฐบาลรัสเซีย  เพื่อตอบโต้การที่รัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งในปี 2020, แฮกข้อมูลของสหรัฐ, คุกคามยูเครน  และการกระทำที่ “มุ่งร้าย” อื่นๆ  สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นนแรงซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (2.) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1.6% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. และปรับตัวลงสู่ระดับ 1.528% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์จากแรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (3.) การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์แตะระดับต่ำสุดที่ 91.49 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.โดยเป็นการร่วงลงตามบอนด์ยีลด์สหรัฐ  และ (4.) แรงซื้อทางเทคนิคหลังจากราคาทองคำผ่านต้านสำคัญบริเวณ 1,758 ดอลลาร์ต่อออนซ์  สถานการณ์ดังกล่าวหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 เดือนที่ 1,769.53 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ดัชนีดอลลาร์ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในระหว่างวัน  เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่เปิดเผยวานนี้ออกมา “ดีเกินคาด” เกือบทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นยอดค้าปลีก, ดัชนี Empire State Index, ดัชนีภาคการผลิตจากเฟดฟิลาเดลเฟีย และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน  จึงเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกราคาทองคำเอาไว้  ด้านกองทุน SPDR ถือทองไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการอนุญาตก่อสร้าง, ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากม.มิชิแกน

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย ขับทูตออกจากประเทศ  สหรัฐประกาศคว่ำบาตรรัสเซียในวันนี้ พร้อมกับขับไล่ทูตรัสเซีย 10 คนออกจากประเทศ เพื่อตอบโต้การที่รัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งและแฮกข้อมูลของสหรัฐ  ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล (WSJ) รายงานว่า สหรัฐจะประกาศคว่ำบาตรรัสเซียในวันนี้ หลังจากที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและรัสเซียเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากประเด็นขัดแย้งต่างๆ  WSJ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า การคว่ำบาตรดังกล่าวจะกระทบหน่วยงานของรัสเซียมากกว่า 30 แห่ง และทูตรัสเซียจะถูกลงโทษในข้อหาจ่ายเงินจ้างกลุ่มหัวรุนแรงในอัฟกานิสถานให้สังหารบุคลากรทางทหารของสหรัฐ ซึ่งทางการรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว  คำสั่งบริหารของสหรัฐจะขยายครอบคลุมถึงการห้ามธนาคารของสหรัฐทำการซื้อขายตราสารหนี้ของรัฐบาลรัสเซีย
  • (+) เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนมี.ค. หลังจากที่ลดลง 2.6% ในเดือนก.พ.  อย่างไรก็ดี ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค.นั้น ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.7%
  • (+) ดอลล์อ่อนหลังบอนด์ยีลด์สหรัฐร่วงแตะจุดต่ำสุดรอบ 4 สัปดาห์  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ซึ่งลดความน่าดึงดูดของดอลลาร์ และได้บดบังปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.08% สู่ระดับ 91.6167 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 108.65 เยน จากระดับ 108.94 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9217 ฟรังก์ จากระดับ 0.9229 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.2536 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2526 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1975 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1970 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3791 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3779 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7754 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7724 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) เฟดฟิลาเดลเฟียเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นในเดือนเม.ย.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีภาคการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.2 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 44.5 ในเดือนมี.ค.  ทั้งนี้ ตัวเลขเดือนเม.ย. ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2516 หรือเกือบ 50 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 42
  • (-) เฟดนิวยอร์กเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นในเดือนเม.ย.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 26.3 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 17.4 ในเดือนมี.ค.  ตัวเลขเดือนเม.ย. ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2560 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 20
  • (-) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกพุ่ง 9.8% ในเดือนมี.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 9.8% ในเดือนมี.ค. หลังจากที่ลดลง 2.7% ในเดือนก.พ.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้น 5.9% ในเดือนมี.ค.
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลงต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ 576,000 รายในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 10 เม.ย. โดยเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 710,000 ราย
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 305.10 จุด ทำนิวไฮ รับแรงซื้อหุ้นเทคโนฯ-ข้อมูลศก.สดใส  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮที่เหนือระดับ 34,000 จุดเป็นครั้งแรกเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดทำนิวไฮเช่นกัน เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างคึกคัก หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,035.99 จุด เพิ่มขึ้น 305.10 จุด หรือ +0.90% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,170.42 จุด เพิ่มขึ้น 45.76 จุด หรือ +1.11% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,038.76 จุด เพิ่มขึ้น 180.92 จุด หรือ +1.31%

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More