Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 18 มี.ค.64 (YLG)

- Advertisement -

424

- Advertisement -

คำแนะนำ :

ราคายังมีโอกาสที่จะทดสอบแนวต้าน 1,759 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านได้ให้แบ่งขายทำกำไร อย่างไรก็ตามหากไม่ผ่าน ประเมินแนวรับที่ 1,738-1,719 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,738 1,719 1,707 แนวต้าน : 1,759 1,776 1787

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดทะยานขึ้น 18.33 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ราคาจะมีการอ่อนตัวลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ  1,724.39 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ในช่วงก่อนธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะแถลงผลการประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนมี.ค.  โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์  และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่ทะยานขึ้นสู่ระดับ 1.689% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 13 เดือน  ก่อนที่ราคาทองคำจะพุ่งขึ้นในทันทีที่เฟดมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.00-0.25% พร้อมส่งสัญญาณยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือนต่อไป  ที่สำคัญ  Dot plot ฉบับใหม่ของเฟดบ่งชี้ว่า  “อัตราดอกเบี้ยของเฟดจะอยู่ในระดับใกล้ 0 ไปจนถึงอย่างน้อยปี 2023“  ขณะที่นายพาวเวลล์ประธานเฟดย้ำชัดว่า “ยังไม่ถึงเวลาที่จะเริ่มพูดถึงการลดวงเงิน QE (QE tapering)”  สะท้อนสัญญาณในเชิงสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงิน(Dovish)ต่อไป  แม้ว่าเฟดจะได้ปรับ “เพิ่ม” ตัวเลขคาดการณ์ GDP ในปี 2021 และ 2021 รวมถึงปรับ “ลด” การคาดการณ์อัตราการว่างงานในปี 2021, 2022 และ 2023 รวมถึงปรับ “เพิ่ม” คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2021, 2022 และ 2023 ก็ตาม  ปัจจัยดังกล่าวกดดันให้สกุลเงินดอลลาร์ดิ่งลงแรง  พร้อมกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีลดช่วงบวก  จนเป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการทะยานขึ้นของราคาทองคำ  ส่งผลให้ราคาแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,751.46 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อคืนนี้  และพุ่งขึ้นต่อในช่วงเช้าวันนี้ในตลาดเอเชียแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,753.85 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลงอีก -2.04 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) รวมถึงการเปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจากเฟดฟิลาเดลเฟีย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์  และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจาก CB

- Advertisement -

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ร่วงลง หลังดอกเบี้ยเงินกู้ดีดตัว  สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์ลดลง 4% ในสัปดาห์ที่แล้ว และดิ่งลง 39% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านต่ำกว่าคาดในเดือนก.พ.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านดิ่งลง 10.3% ในเดือนก.พ. สู่ระดับ 1.421 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.560 ล้านยูนิต 
  • (+) ดอลลาร์อ่อนค่า หลังเฟดตรึงดอกเบี้ย-เดินหน้าทำ QE  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 มี.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด และส่งสัญญาณว่าจะเดินหน้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.49% สู่ระดับ 91.4180 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 108.82 เยน จากระดับ 108.99 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9220 ฟรังก์ จากระดับ 0.9251 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2416 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2443 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1980 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1904 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3949 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3895 ดอลลาร์
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 189.42 จุด ขานรับเฟดเพิ่มคาดการณ์ศก.สหรัฐ  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮเมื่อคืนนี้ (17 มี.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ พร้อมส่งสัญญาณว่าจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2566 นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดยืนยันว่า เฟดจะเดินหน้าใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งรวมถึงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,015.37 จุด เพิ่มขึ้น 189.42 จุด หรือ +0.58% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,974.12 จุด เพิ่มขึ้น 11.41 จุด หรือ + 0.29% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,525.20 จุด เพิ่มขึ้น 53.63 จุด หรือ +0.40%
  • (-) “มอร์แกน สแตนลีย์” ไฟเขียวลูกค้าลงทุนในกองทุนบิตคอยน์  สื่อรายงานว่า มอร์แกน สแตนลีย์นับเป็นธนาคารใหญ่แห่งแรกของสหรัฐที่เสนอให้ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจบริหารความมั่งคั่งสามารถเข้าลงทุนในกองทุนบิตคอยน์  การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่ลูกค้าของทางธนาคารแสดงความจำนงที่จะเข้าลงทุนในบิตคอยน์ ขณะที่บิตคอยน์พุ่งขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ต้นปีนี้  อย่างไรก็ดี มอร์แกน สแตนลีย์ระบุว่า ลูกค้าที่จะเข้าลงทุนในกองทุนบิตคอยน์จะต้องมีสินทรัพย์ฝากไว้กับธนาคารอย่างน้อย 2 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ลูกค้าที่เป็นวาณิชธนกิจจะต้องมีสินทรัพย์อย่างน้อย 5 ล้านดอลลาร์กับทางธนาคาร และบัญชีเหล่านี้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน  นอกจากนี้ มอร์แกน สแตนลีย์เปิดเผยว่า ลูกค้าไม่สามารถลงทุนในกองทุนบิตคอยน์มากกว่า 2.5% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิทั้งหมด
  • (+/-) เฟดปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ GDP สหรัฐ ขณะส่งสัญญาณตรึงดบ.ยาวถึงปี 2566  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ในวันนี้  นอกจากนี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2566 แม้มีการคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็ตาม  ขณะเดียวกัน เฟดระบุว่าจะยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน โดยเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 8 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์  แถลงการณ์หลังการประชุมของเฟดระบุว่า เฟดจะยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน จนกว่าจะมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของเฟดในการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพ และการมีเสถียรภาพด้านราคา  ทั้งนี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2564 และ 2565 สู่ระดับ 6.5% และ 3.3% ตามลำดับ ขณะที่ปรับลดการขยายตัวของปี 2566 สู่ระดับ 2.2% และเฟดได้คงคาดการณ์อัตราการขยายตัวในระยะยาวที่ระดับ 1.8%  เฟดยังได้คงตัวเลขคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2564-66 อยู่ที่ระดับ 0.13% ทั้ง 3 ปี และคงตัวเลขคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในระยะยาวที่ระดับ 2.5%  ขณะเดียวกัน เฟดปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2564-66 สู่ระดับ 2.4%, 2.0% และ 2.1% ตามลำดับ และคงตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวอยู่ที่ระดับ 2.0%  นอกจากนี้ เฟดปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราว่างงานในปี 2564-66 สู่ระดับ 4.5%, 3.9% และ 3.5% ตามลำดับ และปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราว่างงานในระยะยาวสู่ระดับ 4.0%

ขอขอบคุณ  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More