Gold Around
ราคาทองคำ ข่าวสารและแนวโน้มราคาทองคำวันนี้

บทวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ 15 ต.ค.63 (YLG)

- Advertisement -

499

- Advertisement -

หากราคาดีดตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านโซน 1,909- 1,922 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนะนำเปิดสถานะขายในบริเวณดังกล่าว(ตัดขาดทุนหากหลุด 1,922 ดอลลาร์ต่อออนซ์)  เน้นการลงทุนระยะสั้นและไม่ควรถือสถานะจำนวนมากหลายวัน

แนวรับ : 1,872 1,863 1,847  แนวต้าน : 1,909 1,922 1,934

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.21 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  หลังจากเงินปอนด์ฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดที่ทำไว้ในวันพุธ  หลังจากแหล่งข่าวเผยว่า  แม้ข้อตกลงการค้าระหว่าง EU-UK เป็นเรื่องยาก แต่ยังคงเป็นไปได้และการเจรจาจะยังคงดำเนินต่อไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า  ซึ่งช่วยบรรเทาความวิตกเกี่ยวกับ no-deal Brexit ได้  ซึ่งการแข็งค่าของปอนด์กดดันดอลลาร์ให้ร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์จาเป็นปัจจัยหนุนทอง  นอกจากนี้  ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากแรงซื้อ Buy the dip ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเส้นทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  รวมไปถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 3 พ.ย.นี้  ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,912.97 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำลดช่วงบวกในเวลาต่อมา  เนื่องจากดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้น  หลังจากนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ออกมายอมรับว่า “เป็นเรื่องที่ยาก” ที่จะมีการบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย. เพราะพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันยังคงมีความขัดแย้งกันในหลายประเด็นซึ่งรวมถึงวงเงินของมาตรการดังกล่าว  ข่าวดังกล่าวกลับมากระตุ้นแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยจนส่งผลสกัดช่วงบวกของราคาทองคำ   ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +0.29 ตันสู่ระดับ 1,277.94 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจากเฟดฟิลาเดลเฟีย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์  และดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม(Empire State Index)ของสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

- Advertisement -

  • (+) เงินดอลล์อ่อน กังวลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่คืบ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐ หลังจากนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐยอมรับว่า ทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตอาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ได้ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.16% แตะที่ 93.3865 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.10 เยน จากระดับ 105.49 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9131 ฟรังก์ จากระดับ 0.9145 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นสู่ร่ะดับ 1.3145 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3140 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1750 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1744 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3023 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2933 ดอลลาร์
  • (+) จำนวนผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลรัฐนิวยอร์กพุ่งกว่า 2 เท่าในเดือนที่แล้ว  สำนักข่าว NBC รายงานว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในรัฐนิวยอร์กได้พุ่งขึ้นกว่า 2 เท่าในเดือนที่แล้ว โดยอยู่ที่ระดับ 923 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย. 
  • (+) เฟดชี้เศรษฐกิจต้องใช้เวลาอีก 1 ปีกว่าจะกลับสู่การขยายตัวก่อนช่วงโควิด  นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันนี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจำเป็นต้องใช้เวลาอีก 1 ปีเพื่อให้มีการขยายตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทั้งนี้ นายแคลริดาระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง และภาวะถดถอยที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะฉุดให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงอย่างหนัก ทำให้ต้องใช้เวลาอีก 1 ปีกว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมามีการขยายตัวเทียบเท่ากับปี 2562  นอกจากนี้ นายแคลริดากล่าวเสริมว่า สำหรับการฟื้นตัวของการจ้างงาน อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี
  • (-) รัสเซียประกาศจดทะเบียนวัคซีนต้านโควิด-19 ตัวที่ 2 ในวันนี้  ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศในวันนี้ว่า รัสเซียได้ทำการจดทะเบียนวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 เป็นตัวที่ 2 ในวันนี้  “ศูนย์วิจัยโนโวซิเบิร์สค์ เวคเตอร์ได้ทำการจดทะเบียนวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 เป็นตัวที่ 2 ในวันนี้ โดยใช้ชื่อว่า EpiVacCorona” ปธน.ปูตินกล่าว
  • (-) “มนูชิน” ยอมรับไม่สามารถบรรลุดีลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนเลือกตั้งปธน.  นายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ กล่าวว่า พรรคเดโมแครตและรีพับลิกันกำลังมีความคืบหน้าในบางด้านเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  นายมนูชินกล่าวว่า ตนและนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้หารือกันในหลายประเด็นในวันนี้ และจะมีการเจรจาต่อไปในวันพรุ่งนี้  นอกจากนี้ นายมนูชินยอมรับว่า การบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย. ถือเป็นเรื่องที่ยาก โดยทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันในหลายประเด็น
  • (-) สหรัฐเผยดัชนี PPI ดีดตัวมากกว่าคาดในเดือนก.ย.  กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ดีดตัว 0.4% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค.  ดัชนี PPI ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาที่พักในโรงแรม  เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI ปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนก.ย. หลังจากร่วงลง 0.2% ในเดือนส.ค.  ทางด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี PPI จะปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายปี
  • (-) อังกฤษประกาศล็อกดาวน์ “ลิเวอร์พูล” หลังพบโควิดระบาดหนัก  รัฐบาลอังกฤษประกาศล็อกดาวน์เมืองลิเวอร์พูลในวันนี้ หลังพบว่าเป็นเมืองที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด-19  การประกาศล็อกดาวน์ดังกล่าวได้ส่งผลให้มีการปิดผับและบาร์ ยกเว้นในร้านที่มีการจำหน่ายอาหาร รวมทั้งมีการปิดแหล่งกาสิโน ศูนย์สันทนาการ และสถานที่ออกกำลังกาย 
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 165.81 จุด วิตกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจไม่คืบ  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่สองเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) หลังจากนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐยอมรับว่า ทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตอาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ได้ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พ.ย. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของธนาคารรายใหญ่อย่างแบงก์ ออฟ อเมริกา และเวลส์ ฟาร์โก  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 28,514.00 จุด ลดลง 165.81 จุด หรือ -0.58% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,488.67 จุด ลดลง 23.26 จุด หรือ -0.66% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,768.73 จุด ลดลง 95.17 จุด หรือ -0.80%

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

- Advertisement -

- Advertisement -

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More